เปิดฉาก “Thailand Cybersecurity Week 2017” ปลุกคนไทยรับมือภัยคุกคาม ช่วยเศรษฐกิจแข็งแกร่ง

 

เปิดแล้ว งานสัมมนา Thailand CybersecurityWeek 2017” มุ่งเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้คนไทยพร้อมรับมือภัยคุคามไซเบอร์ที่เพิ่ต่อเนื่องและรุนแรงขึ้น หวังรัฐ-เอกชน-ประชาชน ร่วมกันสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่แข็งแกร่ง เพื่อความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมออนไลน์และอีคอมเมิร์ซ ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ 


พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภัยคุกคามไซเบอร์มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกรณีมัลแวร์เรียกค่าไถ่ “วันนาคราย (WannaCry) ที่แพร่ระบาดทั่วโลกเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทำให้การบริการไอทีของหลายร้อยหน่วยงานทั่วโลกต้องหยุดชะงัก ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ได้รับกระทบมากนักจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ซึ่งการจัดงานสัมมนา “Thailand Cybersecurity Week 2017” ครั้งนี้ จะช่วยกระตุ้นและเน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญของ Cybersecurity หรือ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการร่วมมือกันในการระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมออนไลน์และอีคอมเมิร์ซ อีกทั้งยังจะรองรับอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ในยุคดิจิทัลเช่น Digital Content นวัตกรรมการเงินสมัยใหม่อย่าง FinTechหรือระบบเพย์เมนต์ใหม่ ๆ ที่ใช้ในการซื้อสินค้าและบริการ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างเข้มแข็ง

พลอากาศเอก ประจิน ยังกล่าวชื่นชม สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้ากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีทีมไทยเซิร์ตทำหน้าที่สำคัญในการดูแลระบบความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศที่มีความจำเป็นต่อการทำธุรกรรมออนไลน์ การโอนเงินผ่านระบบออนไลน์ การส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการทำอีคอมเมิร์ซ และ e-Trade Facilitation อันจะนำพาประเทศไปสู่แนวเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล แนวนโยบาย 4.ที่จะพัฒนาประเทศไปสู่ระบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ


ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า งานสัมมนา “Thailand Cybersecurity Week 2017” จะช่วยกระตุ้นให้ทุกองค์กรและทุกคนเห็นความสำคัญของความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์  เนื่องจากมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในเรื่องของอีคอมเมิร์ซ, e-Governmentและไลฟ์สไตล์ของประชาชน ซึ่งการจัดอันดับจาก Global Cybersecurity Index & Cyber Wellness Profiles 2015 ที่ทำโดย ITU พบว่าประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 15 จากทั้งหมด 196 ประเทศ รองสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย  

ดร.พิเชฐ  กล่าวต่อว่า การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์นั้น จะมีการรวมกลุ่มเพื่อรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น กลุ่มเดียวกันมีธุรกิจเดียวกัน ประกอบกับมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุมคามทางไซเบอร์ รวมทั้งฝึกซ้อมรับมือภัยคุมคามทางไซเบอร์อย่างสม่ำมอ ตลอดจนให้ความรู้เกี่ยวกับ Cyber Hygiene ให้กับประชาชนทั่วไป 

 

สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการเอ็ตด้า กล่าวว่า การจัดงาน “Thailand Cybersecurity Week 2017” ภายใต้แนวความคิด Cybersecurity for All ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพื่อเราทุกคน ระหว่างวันที่ 26-30 มิถุนายน 2560 จะช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อพัฒนาศักยภาพการค้าการขายยุคใหม่ และทําให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคหรือ Gateway of ASEAN ได้อย่างแท้จริง

ทั้งนี้ สถิติการรับมือภัยคุกคามของไทยเซิร์ตในปี 2559 พบตัวเลขที่สำคัญคือ ได้รับแจ้งเหตุและประสานงานรับมือภัยคุกคามทั้งสิ้น 3,798 ครั้ง และเมื่อแบ่งลักษณะภัยคุกคามที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ มัลแวร์ (Malicious code) การบุกรุกระบบ (Intrusions) และการฉ้อโกง (Fraud)  สำหรับการยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ผ่านการทำงานของทีมไทยเซิร์ต ภายใต้เอ็ตด้า เป็นการทำงานเชิงรุกควบคู่กับการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง โดยมีการบูรณาการการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ในส่วนของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับประชาชนก็มีการเน้นย้ำแนวนโยบายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพื่อทุกคน ขณะที่ในส่วนของหน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศก็ดูแลผลักดันส่วนของ Cyber Defense ดังนั้น "Cybersecurity จึงจำเป็นสำหรับทุกคน" และเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องช่วยกัน ทั้งองค์กรภาครัฐ และองค์กรภาคเอกชน ภาคประชาชนที่ร่วมกันดูแลความมั่นคงปลอดภัยให้กับประเทศ  

นอกจากนี้ งาน “Thailand Cybersecurity Week 2017” ยังมีการมอบรางวัล CybersecurityExcellence Award  โดยแบ่งออกเป็น ประเภท คือ

1. รางวัลประเภทบุคคล จำนวน 2 รางวัล  รางวัลนี้มอบไว้ให้บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นที่ประจักษ์ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนร่วม สละเวลา อุทิศตน เพื่อสร้างนวัตกรรมและเครือข่ายเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ และยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย
• ดร. ชาญวิทย์ แก้วสิริ
• ดร. กิตติ โฆษะวิสุทธิ์

และ Honorable Mention จำนวน 3 รางวัล รางวัลนี้มอบไว้ให้บุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจอย่างสม่ำเสมอ ยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย และเป็นกาวใจให้ทุกภาคส่วน

• พล.ต.ต.ศิริพงษ์ ติมุลา
• นายณัฐ พยงค์ศรี 
• นางสาวศุภสรณ์ รุ่งโรจน์วุฒิกุล
2. รางวัลประเภทองค์กร จำนวน รางวัล โดยแบ่งเป็นหมวดดังนี้

2.1Cybersecurity Public-Private Cooperationจำนวน 4 รางวัล เป็นรางวัลที่มอบให้องค์กร ที่ทำงานประสานสอดรับกันเพื่อปกป้องประชาชนจากภัยคุกความทางไซเบอร์

• ธนาคารแห่งประเทศไทย
• สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

 

 

• สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
• สมาคมธนาคารไทย

2.2 Cybersecurity Human Capability Development จำนวน 1 รางวัล เป็นรางวัลนี้มอบไว้ให้องค์กรที่ทำงานด้านการพัฒนาบุคลการทางไซเบอร์อย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ

2.3 Cybersecurity Awareness จำนวน 2 รางวัล เป็นรางวัลที่มอบให้กับสื่อมวลชนที่นำเสนอข่าวทางด้าน ไซเบอร์ซิเคียวริตี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงด้านภัยไซเบอร์ให้กับประชาชน

• บริษัท บล็อกนัน จำกัด ( Blognone Co., Ltd.)
• องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย

และ Honorable Mention จำนวน รางวัล เป็นกำลังใจในการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือประชาชนในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์

• กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสำนักงาน

          ตำรวจแห่งชาติ

• กองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงาน

          ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

 

ความคิดเห็น