แบล็คเบอรี่ ผนึกพันธมิตร ดาต้าวัน เอเชีย รุกตลาด Mobility Enterprise รองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0

แบล็คเบอรี่ เผยเทรนด์ดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิกมาแรงดันตลาดไอทีโต ประกาศจับมือพันธมิตร ดาต้าวัน เอเชีย  เปิดตัวโซลูชัน Enterprise Mobile Management รองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 หลังภาครัฐและเอกชนขานรับนโยบาย เดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานนำพาองค์กรสู่Digital Transformation ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

บริษัท แบล็คเบอรี่ (สิงคโปร์) จำกัด ประกาศจับมือพันธมิตรทางธุรกิจกับ บริษัท ดาต้าวัน เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ในกลุ่ม Network และ Security ชั้นนำ เพื่อเปิดตลาด Enterprise Mobile Management หรือ โซลูชันการจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ขององค์กรในประเทศไทย โดยคาดการณ์ว่าแนวโน้มในอีก 3 ปีข้างหน้า องค์กรในเอเชียแปซิฟิกจะมุ่งสู่การทำ Digital Transformation อย่างเต็มรูปแบบ ประกอบกับมองเห็นศักยภาพของตลาดของลูกค้าองค์กรในประเทศไทยที่มีความพร้อมทั้งภาครัฐและเอกชน จากนโยบายไทยแลนด์ 4.0  ที่ส่งเสริมและผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล จึงเล็งเห็นถึงความต้องการในด้านการสนับสนุนให้องค์กรเป็นMobility Enterprise เพิ่มขึ้น เนื่องจากองค์กรในธุรกิจปัจจุบัน จำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์ในการทำหน้าที่ประสานระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ งานบริการและโซลูชัน ให้องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า พร้อมปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น เพื่อช่วยสร้างความพร้อมทางธุรกิจในการแข่งขันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ  

ที่ผ่านมาแบล็คเบอรี่มีประสบการณ์กว่า 10 ปี ในการทำงานสนับสนุนเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลบนเครื่องสมาร์ทโฟนและร่วมกับบริษัทชั้นนำทั่วโลกกว่า 100 บริษัท ในการให้บริการด้านระบบ Mobility Enterprise และ Security ด้วยการพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลทำงานผ่านระบบและอุปกรณ์ไอทีใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ทำให้ทราบถึงความจำเป็น ปัญหา และความสำคัญของการนำอุปกรณ์ที่หลากหลายมาใช้งานในองค์กร ซึ่งโซลูชัน Unified Endpoint Manager (UEM) จากแบล็คเบอรี่ จะมาช่วยทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ ให้สอดรับกับนโยบายและโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจเพื่อการทำงานในยุคดิจิทัล พร้อมยืนยันความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่งด้วยผลรายงานการวิเคราะห์จาก Gartner เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์พกพาอย่าง โน๊ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์เชื่อมต่ออื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นขององค์กรหรือของส่วนตัวผู้ใช้เอง พร้อมใช้งานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเชิงธุรกิจ ภายใต้นโยบายด้านความปลอดภัยขององค์กร โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานส่วนตัว


นายพูลสุข วัฒนายิ่งเจริญชัย  ผู้อำนวยการ บริษัท ดาต้าวัน เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การร่วมมือทางธุรกิจระหว่างดาต้าวันฯและแบล็คเบอรี่ในครั้งนี้ เพราะแบล็คเบอรี่ได้มองเห็นศักยภาพของตลาดลูกค้าองค์กรในประเทศไทย จากนโยบายไทยแลนด์ 4.0  ที่ส่งเสริมและผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล และร่วมกันเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อเปิดตลาดโซลูชั่นด้าน Mobility Enterprise สำหรับองค์กร เพื่อช่วยจัดการอุปกรณ์เชื่อมต่อที่หลากหลาย ที่มาพร้อมระบบความปลอดภัยในการดูแลรักษาข้อมูลด้วยเทคโนโลยีระดับโลก โดยลูกค้าเป้าหมายที่ทางดาต้าวัน ฯ จะเข้าไปเปิดตลาดจะเป็นลูกค้ากลุ่มธนาคาร ประกันภัย และภาครัฐ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลในระดับสูง 

สำหรับโซลูชัน UEM ของแบล็คเบอรี่ สามารถรองรับการบริหารจัดการอุปกรณ์พกพาบนแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ได้แก่ Android, iOS, Windows 10MacOS และ BlackBerry โดยผู้ใช้งานสามารถลงทะเบียนเพื่อเริ่มใช้งานด้วยตนเอง ผ่านการตั้งค่าอุปกรณ์เบื้องต้น เช่น E-mail , Wi-Fi และ VPN โดยอัตโนมัติ การควบคุมการติดตั้งและใช้แอพลิเคชัน การป้องกันการ Jailbreak/Root ไปจนถึงการค้นหาตำแหน่งของอุปกรณ์และการล้างข้อมูลทิ้งเมื่ออุปกรณ์สูญหาย ที่สำคัญคือผู้ดูแลระบบสามารถเลือกวิธีบริหารจัดการจากศูนย์กลางแบบ On-premise หรือระบบคลาวด์ก็ได้ ซึ่งค่อนข้างยืดหยุ่นในการทำงานร่วมกับระบบที่แตกต่างกันในแต่ละองค์กร

ในช่วงปีที่ผ่านมา หลังจากรัฐบาลประกาศเดินหน้าประเทศไทยด้วยนโยบายเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0 ส่งผลให้ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างวางแผนนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาสนับสนุนธุรกิจและสร้างมูลค่าให้แก่องค์กร ไม่ว่าจะเป็นการหันไปใช้ระบบคลาวด์ หรือการนำ IoT (Internet of Things) มาพัฒนาธุรกิจ และนำข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ได้จากอุปกรณ์ ไอทีต่าง ๆ นำมาวิเคราะห์ (Big Data Analytics) และนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาสร้างฟีเจอร์ใหม่ ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์และบริการขององค์กร ซึ่งแนวทางที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็น Big Data นั้น สามารถนำมาออกแบบการทำงานให้เป็นแบบ Mobilityเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น และความคล่องตัว ในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น โดยหัวใจสำคัญของการพัฒนาศักยภาพเพื่อนำองค์กรสู่การแข่งขันในยุคนี้คือ เทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้เรื่องของระบบการรักษาความปลอดภัย เป็นปัจจัยสำคัญที่องค์กรให้ความสำคัญสูงสุดนายพูลสุข  กล่าวทิ้งท้าย

 


ความคิดเห็น