หัวเว่ย เปิดศูนย์หัวเว่ย โอเพ่นแล็ป แบงค์กอก (Huawei OpenLab Bangkok) ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ สนับสนุนการขับเคลื่อนสู่ เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างบูรณาการแห่งแรกในประเทศไทยและ ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งเป้าหนุนภาคเศรษฐกิจสู่ “ไทยแลนด์ 4.0”

 

กรุงเทพ/1 มิถุนายน 2560 - หัวเว่ย ผู้จัดหาโซลูชั่นไอซีทีชั้นนำระดับโลก เปิดตัวศูนย์หัวเว่ย โอเพ่นแล็ 
แบงค์กอก (Huawei OpenLab Bangkok) เพื่อเป็นแพลตฟอร์มพื้นฐานด้านไอซีทีแบบครบวงจรสำหรับองค์กรต่างๆ และช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 

 

ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และนายเดวิด ซุน ประธานกรรมการบริหาร และหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เกียรติร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดครั้งนี้

 

ศูนย์หัวเว่ย โอเพ่นแล็ แบงค์กอก ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 15 ล้านเหรียญสหรัฐ และถือเป็นศูนย์โอเพ่นแล็ป ลำดับที่ ของหัวเว่ยทั่วโลก ต่อจากซูโจว เม็กซิโก มิวนิก สิงคโปร์ โจฮันเนสเบิร์ก และดูไบ โดยมีเนื้อที่ราว 2,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่ ณ อาคารจี ทาวเวอร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทแห่งใหม่ในประเทศไทย

 

นายเดวิด ซุน ประธานกรรมการบริหารและหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี จำกัด ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ศูนย์หัวเว่ย โอเพ่นแล็แบงค์กอก จะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลแก่ลูกค้าและพันธมิตรต่างๆ ในอุตสาหกรรม โดยจะเป็นแพลตฟอร์มแบบเปิด และดาต้าเซ็นเตอร์ต่างๆ ช่วยแก้ปัญหาการดสอบโซลูชัการใช้งานต่างๆ กระตุ้นห้เกิดการพัฒนานวัตกรรม ทั้งยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม และให้บริการฝึกอบรมด้านไอซีที

 

ศูนย์หัวเว่ย โอเพ่นแล็ แบงค์กอก จะช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนานวัตกรรมความร่วมมือและการคิดค้นโซลูชั่นใหม่ร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในประเทศไทย รวมไปถึงประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในด้านต่าง ๆ อาทิ สมาร์ทซิตี้ ความปลอดภัยสาธารณะ โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Gridการเงิน การศึกษา การขนส่ง และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

 

ในพิธีเปิดศูนย์ดังกล่าว นายเดวิด ซุน ได้กล่าวว่า ศูนย์โอเพ่นแล็ป แบงค์กอก ยังจะช่วยสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และช่วยขับเคลื่อนและส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพและการศึกษาของไทยในด้านไอซีทีด้วย

 

“เมื่อผนวกกับวิสัยทัศน์ของรัฐบาล ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ไทยแลนด์ 4.0 และโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ของภูมิภาคมีความชัดเจนขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมได้ผลักดันให้ความเร็วในการเชื่อมต่อโมบายบรอดแบนด์เพิ่มขึ้นจาก 5 Mbsไปอยู่ที่ 15 Mbps และเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารโดยตรงของไทยไปยังประเทศต่างๆ ให้เพิ่มมากขึ้นผ่านเคเบิ้ลใต้น้ำ”

 

เราเชื่อมั่นว่าด้วยระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพสภาพเศรษฐกิจ นโยบายด้านเศรษฐกิจดิจิทัลสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนจากบีโอไอ และการเชื่อมโยงของเครือข่ายการบิน รวมถึงบุคลากรที่มีความสามารถด้านไอซีที จะทำให้ประเทศไทยเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมมากขึ้นในสายตาขององค์กรธุรกิจในระดับนานาชาติ” นายซุน กล่าวเสริม

 

นอกจากนี้หัวเว่ยยังคงให้การสนับสนุนภาครัฐบาลของไทยในหลายด้านผ่านการทำงานร่วมกันกับภาครัฐ และเอกชน และองค์กรวิจัยต่างๆเพื่อสร้างระบบนิเวศ การปรับโครงสร้างของอุตสาหกรรมสู่การเติบโตแนวดิ่ง (verticalindustries) และการนำเสนอประสบการณ์การใช้งานดีไวซ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้าชาวไทย

 

 

ในปัจจุบันนี้  คนไทยกว่า 6 ล้านคน ใช้อุปกรณ์ดีไวซ์ของหัวเว่ย และเพลิดเพลินกับคุณสมบัติใหม่ ๆ ของเครื่อง อาทิ กล้องเลนส์คู่ที่พัฒนาร่วมกับไลก้า วีดีโอสตรีมมิ่งแบบเอชดี และเทคโนโลยีการสื่อสารความเร็วสูง LTEนวัตกรรมเหล่านี้จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งของหัวเว่ยในฐานะหนึ่งใน แบรนด์ชั้นนำของสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนด์ ที่มีระดับการรับรู้ของแบรนด์สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ถึงร้อยละ 84” นายเดวิด ซุน กล่าว

 

ในปีที่ผ่านมาหัวเว่ยได้จ่ายภาษีเป็นจำนวนทั้งสิ้น33 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และสร้างงานมากกว่า 10,000 ตำแหน่งในประเทศไทย ซึ่งเพิ่มขึ้นสองเท่าจากปีก่อนหน้า นอกจากนี้บริษัทยังใช้งบจัดซื้อจัดจ้างถึง 660 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และได้มีการจัดการอบรมด้านไอซีทีให้กับ “นักรบดิจิทัล มากกว่า35,000 คนในประเทศไทยในช่วงสิบปีที่ผ่านมา

 

เรามุ่งหวังว่าบริษัทหัวเว่ยจะเป็นตัวอย่างที่ดีขององค์กรธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย นายซุน กล่าว

 

ศูนย์โอเพ่น แล็ป บางกอก ตั้งเป้าจะให้การฝึกอบรมบุคลากรด้านไอซีทีไม่ต่ำกว่า 800 คนต่อปีรวมถึงพัฒนาบุคลากรที่ผ่านประกาศนียบัตรรับรองด้านอาชีพ Huawei Certification อีก 500 คนต่อปี และคาดว่าจะสามารถรองรับโครงการทดสอบแนวคิด (POC) ราว 150 คนต่อปี โดยคาดว่าทุก  ปี จะสามารถต้อนรับบริษัทสตาร์ทอัพด้านไอซีทีได้มากกว่า 20 ราย

 

ในส่วนของโครงการความร่วมมือของศูนย์โอเพ่น แล็ป บางกอก กับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ 

• โครงการพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับโซลูชนด้านไอซีทีเพื่อพัฒนาระบบพลังงานไฟฟ้าร่วมกับการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค
• โครงการความร่วมมือทางยุทธศาสตร์เมืองแห่งความปลอดภัยของกรมตำรวจ 
• โครงการความร่วมมือกับกลุ่มสตาร์ทอัพด้านเมืองอัจฉริยะของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า จ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

นอกจากนี้ที่ศูนย์หัวเว่ย โอเพ่นแล็ แบงค์กอกยังได้ประสานความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจ ทั้งในและต่างประเทศอีกกว่า 30 แห่ง เพื่อให้บริการข้อมูล และสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม และดิจิทัลโซลูชั่น อาทิ เอสเอพี, ไมโครซอฟท์, ฮันนี่เวลล์, บอมบาร์ดิเอร์, ออราเคิล, แอ็กเซนเจอร์ และอินโฟซีส ฯลฯ

 

และในปี 2560 หัวเว่ยวางแผนที่จะเปิดศูนย์โอเพ่น แล็ ใหม่อีก 7 แห่งทั่วโลก และอีก ปีนับจากนี้ จะลงทุนด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 200ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และเพิ่มบุคลากรอีกประมาณ 1,000 คน เพื่อสร้างศูนย์โอเพ่น แล็ปให้ครบ 20 แห่งในปี 2562


ความคิดเห็น