กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปักหมุด “ดีป้า” ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ตั้งเป้า 20 ปี มีสตาร์ทอัพดิจิทัล 500,000 ราย แก้โจทย์ประเทศได้ เห็นผลใช้ได้จริง

ตามที่รัฐบาลมีนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ไทยแลนด์ 4.0 หลายภาคส่วน ได้มีการปรับแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับพันธกิจ หลายโครงการขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดศ.และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ได้ให้การสนับสนุน การพัฒนาและวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในทุกมิติ ในแนวทางการรวมพลังทุกภาคส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า ให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งภาคเศรษฐกิจและสังคม


ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวปาฐกถาพิเศษในงาน ดีป้ายกระดับคุณภาพชีวิตในทุกมิติของคนไทย หรือ DEPA: Enhance People Value for Every dimension of Life ว่า ดีป้าซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัล มีเป้าหมายที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยในทุกมิติด้วยดิจิทัลและนวัตกรรม ด้วยเล็งเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในอีก 20 ปีข้างหน้าจะไม่เหมือนเดิม จากสภาพสังคมในวันนี้เปลี่ยนไปมาก หากเราหันไปมองรอบตัวเราจะเห็นว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมได้กับสรรพสิ่ง หรือ
ที่เราเรียกสั้น ๆ ว่า IoT ซึ่งมีแอปพลิเคชันให้เราได้เลือกใช้และสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้อย่างง่ายดายตามความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและการใช้งาน  

ดร.พิเชฐ กล่าวด้วยว่า ขณะที่ภาครัฐเองก็มีการใช้อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ที่คุ้นชิน เช่น ระบบ 
E-Government ซึ่งในอนาคตเราต้องมาคิดกันว่าจะให้ภาพประชาชนได้ประโยชน์อย่างไรบ้างกับ E-Government ของรัฐบาลในลักษณะบริการที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ระบบการศึกษา การพัฒนาชุมชนที่เข้มแข็ง แรงงานที่กระจุกตัว
ในเมือง ทำอย่างไรให้กระจายออกในนอกเมืองด้วยดิจิทัลและนวัตกรรม เช่น เราสามารถปรับโรงสีข้าวที่อยู่ในชุมชน มาเป็นศูนย์ดิจิทัลชุมชนได้ไหม และทำให้เกิดระบบนิเวศด้านการท่องเที่ยวในท้องถิ่น เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชาวบ้าน และใครจะเป็นผู้ดูแลตรงนี้ โดยส่วนตัวมองว่า ผู้จัดการศูนย์ดิจิทัลชุมชน ผู้ที่เหมาะสมคือคนในหมู่บ้านนั้น ๆ ที่จะทำหน้าที่ บริหารรายได้และเงินเดือน ด้วยคนในชุมชนเองจะทำให้เด็กที่จบใหม่เลือกที่จะอยู่ในหมู่บ้านมากกว่า
ที่จะเข้ามาหางานทำในเมือง

โดยการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น ถือเป็นการเปลี่ยนผ่านประเทศ
ครั้งสำคัญ ซึ่งหมายถึง การเคลื่อนย้ายจากสังคมหนึ่งไปอีกสังคมหนึ่งด้วยการเข้าถึงข้อมูล การบริการต่าง ๆ 
ด้วยดิจิทัลและนวัตกรรม ซึ่งดูเหมือนเป็นงานที่หนักและยาก แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ถ้าเราร่วมมือกันบูรณาการ
การทำงานให้เป็นรูปธรรมตามโรดแมของประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลขับเคลื่อนอย่างเต็มที่
สู่ไทยแลนด์ 4.0


ด้าน ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้ากล่าวในการเสวนาหัวข้อ “การยกระดับคุณภาพชีวิตในทุกมิติของคนไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล”ว่า การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยในอีก 20 ปี เรากำลังพูดถึง การนำเทคโนโลยีไปใช้ยกระดับสังคมในทุกมิติ เป็นการผนวกหลายแผนงานเข้าด้วยกัน ซึ่งต้องกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ข้อมูลเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลไปในทุก ๆ อุตสาหกรรม ควบคู่กับการดูแลโครงการพิเศษต่าง ๆ ให้รุดหน้าไปให้ถึงเป้าหมายสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้สังคมไทย ด้วยการ

เคลื่อนย้ายข้อมูล อาทิ โครงการพิเศษว่าด้วยเรื่องของดิจิทัลพาร์ค โครงการสมาร์ท ซิตี้ โครงการสมาร์ทอีอีซี  โครงการสตาร์ทอัพ การพัฒนาโครงการเกษตรแนวใหม่ การพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจ ขับเคลื่อนด้วยยุทธศาสตร์ข้อมูล และเทคโนโลยี โดยดูเรื่องการส่งเสริม และสนับสนุนการลงทุนไปพร้อม ๆ กัน ในลักษณะการทำงานขยายผลไปในส่วนภูมิภาค แบ่งกลุ่มจังหวัดมีการกำหนดสาขาในการทำงาน ฯลฯ เพื่อไม่ให้กระจุกตัวเฉพาะในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติของสังคม โดยนำเทคโนโลยีไปใช้ยกระดับสังคม ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในพื้นที่ต่าง ๆ หรือการจัดการกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลขึ้นมาใหม่ที่เกี่ยวข้องทั้งการพัฒนาฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ดิจิทัล เซอร์วิส และดิจิทัล คอนเทนต์ เป็นต้น เพื่อมุ่งเน้นส่งเสริมการลงทุนให้สอดคล้องกับการจดทะเบียนบริษัทใหม่  

ดร.ณัฐพล กล่าวว่า นอกจากนี้ยังรวมถึงดูแลการพัฒนาชุมชนที่มีอยู่ 24,700 ชุมชน เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายข้อมูลสู่ดิจิทัล โดยมุ่งให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในพื้นที่ของตัวเอง 
ในลักษณะของการส่งวิทยากรอาสาเข้าไปอบรมผู้ประกอบการ ทำให้ผู้ประกอบการในพื้นที่สามารถที่จะประยุกต์ใช้ดิจิทัลให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจของตัวเองอย่างสูงสุด และเกิดการขยายผลไปในรอบ ๆ ชุมชน ดังนั้น การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลไทยจากวันนี้ถึง 20 ปีข้างหน้า เราคงไม่ได้มองแค่ฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ แต่รวมไปถึงการพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวโยงกันทั้งหมด หรือการทำงานเป็นคลัสเตอร์ ซึ่งแนวทาง
การทำงานเราคงต้องมาสำรวจตรงนี้ด้วยว่า การใช้นวัตกรรมแต่ละพื้นที่มีอะไรบ้าง ที่เกิดประโยชน์และเห็นผลได้เร็ว และยั่งยืน ซึ่งต้องทำงานกันเป็นทีมตั้งแต่การดูแลโครงการ ดูข้อมูลภาคสังคม ภาคเศรษฐกิจทุกมิติ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในพื้นที่ และที่สำคัญต้องมีดัชนีชี้วัดความสำเร็จในระยะยาวเพื่อบูรณาการอย่างยั่งยืน

สำหรับดีป้าตั้งเป้าหมายไว้ว่าใน 20 ปีข้างหน้า จะต้องมีสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งธุรกิจขึ้นมาได้จริง 20,000 ราย และไม่ใช่ดิจิทัล สตาร์ทอัพ แค่มาขอทุนเขียนโมเดลแล้วจบด้วยการไปขายลิขสิทธิ์ให้ประเทศเพื่อนบ้าน โดยสตาร์ทอัพ ที่ได้ทุนต้องทำธุรกิจให้สุดให้เกิดเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ในประเทศไทย มีผู้ประกอบการผลิตฮาร์ดแวร์
เกิดใหม่ 50,000 ราย มีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนจำนวน 80,000 ราย และมีนักลงทุนที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
จำนวน 350,000 ราย หรือ รวมทั้งหมด 500,000 ราย ึ่งต้องเห็นผลและทำได้จริง” ดร.ณัฐพลกล่าวทิ้งท้าย



ความคิดเห็น