'อินฟอร์เมติกซ์ พลัส' โชว์ 3 เทคโนโลยีเก็บข้อมูลอัจฉริยะ ระบุตัวตนด้วยภาพใบหน้าและตรวจจับคนขับรถหลับใน ระบบอ่านป้ายทะเบียนรถออนไลน์ มั่นใจช่วยต่อยอดธุรกิจ สร้างรายได้ให้แข็งแกร่ง


นายสุวัฒน์ อินมุตโต กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินฟอร์เมติกซ์ พลัส จำกัด บริษัทลูกของ บมจ.ยูไนเต็ด เพาเวอร์ ออฟ เอเชีย (UPA) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้พัฒนาเทคโนโลยีการระบุตัวตนด้วยข้อมูลชีวภาพ ประกอบด้วย ภาพใบหน้า ภาพม่านตา และลายนิ้วมือ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยคนไทยทั้งหมดตั้งแต่ระดับอัลกอริธึม ที่เป็นส่วนสำคัญที่สุดของซอฟต์แวร์ รวมถึงกระบวนการผลิตระบบที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศไทยที่มีคุณภาพและความเร็วดีกว่าต่างประเทศในหลายผลิตภัณฑ์ ทำให้ประเทศไทยประหยัดงบประมาณในการซื้อองค์ความรู้ต่างประเทศ


นอกจากระบุตัวตนด้วยความเร็ว สูงที่สุดแล้ว ยังประยุกต์ใช้ตรวจจับคนขับรถหลับในได้ทันที ที่หลับตา เป็นการป้องกันอุบัติเหตุที่สมบูรณ์ที่สุด นอกจากนี้ ยังพัฒนาผลิตภัณฑ์ สำหรับการรักษาความปลอดภัยทาง Cyber ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการระบุตัวตนด้วยข้อมูลชีวภาพมีความโดดเด่นด้วยความสามารถในการตรวจจากบันทึกภาพใบหน้าของบุคคลที่ผ่านเข้าออกอาคาร สถานที่ สำหรับระบบงานรักษาความปลอดภัยและยืนยันตัวบุคคลใช้ทดแทนระบบแลกบัตร ระบบรับบัตรคิวและสำหรับเก็บข้อมูลบุคคลและยืนยันตัวตนด้วยภาพใบหน้า ซึ่งมีความเร็วสูงสุดถึง 3.5 ล้านภาพใบหน้าต่อวินาที และยังเป็นระบบ Cloud Base ที่สมบูรณ์พร้อมเปิดบริการสำหรับธุรกิจโรงแรม อาคาร สำนักงาน ธุรกิจบริการ ธนาคารและศูนย์บริการต่างๆ ช่วยประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูลลูกค้าเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานด้วย 


และยังมีระบบอ่านป้ายทะเบียนรถยนต์ออนไลน์ (License Plate Recognition) ซึ่งมีความถูกต้องสูงสุด (www.probiztraffic.com) โดยบริษัทได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางการตลาดและจัดจำหน่ายในประเทศไทย เพื่อใช้ในงานรักษาความปลอดภัย อาคารสถานที่ ห้างสรรพสินค้า อาคาร และโรงเรียน สถานที่พักอาศัย เพราะสามารถบันทึกข้อมูลทะเบียนรถเข้าออกแทนใช้คนจด ในธุรกิจที่ต้องการนับจำนวนดูสถิติคนเข้าออก ธุรกิจขนส่งสินค้า ชั่ง ตวง วัดด้วยรถยนต์ แบ่งกลุ่มรถยนต์ตามความต้องการได้ อีกทั้ง ยังสามารถแจ้งเตือนเมื่อพบรถ blacklist ตามที่บันทึกไว้โดยดูข้อมูลผ่านสมาร์ทแบบเรียลไทม์ด้วย อีกทั้งยังพัฒนาผลิตภัณฑ์ Anubis Cyber security สำหรับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและใช้งานได้จริงสำหรับมาตรการการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน 


บริษัทหวังว่าผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 พัฒนาโดยฝีมือคนไทย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับหน่วยงานราชการความมั่นคงปลอดภัย และหน่วยงานองค์กรที่ต้องการความปลอดภัยสูง คาดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและสามารถตอบโจทย์การใช้งานและตรงกับความต้องการของลูกค้า ขณะนี้มีลูกค้ารายย่อยหลายองค์กรติดต่อมาแล้ว และอยู่ระหว่างเจรจากับทั้งหน่วยงานภาครัฐและกลุ่มธนาคารต่างๆ ซึ่งภายใน 2 เดือนนี้จะเตรียมวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์อย่างเป็นทางการ และพร้อมจะตีตลาดต่างประเทศต่อไปภายในปีนี้อย่างแน่นอน ตั้งเป้าสิ้นปีจะมีรายได้รวมกว่า 500 ล้านบาท

ความคิดเห็น