คณะผู้บริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้าให้การต้อนรับ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมคนใหม่ พร้อมนำเยี่ยมชมโครงการสำคัญต่าง ๆ พร้อมทั้งสรุปภารกิจผลการดำเนินงานและทิศทางการดำเนินงานในปี 2560 ซึ่งมุ่งสานต่อโครงการสำคัญ ๆ อาทิ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (Entrepreneur Total Digital Services) โครงการ Smart City, Startupโดยยกระดับให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีระดับชุมชนสามารถใช้ระบบไอทีได้คล่อง
ทั้งระบบบัญชี ERP การสร้างแพลตฟอร์มบีทูบีเพื่อนำธุรกิจขึ้นสู่ตลาด E-Market places ได้สำเร็จภายในปี 2561
ณ วันนี้จะพูดคำว่าซอฟต์แวร์อย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะระบบเทคโนโลยีในปัจจุบันมีเรื่องของการเชื่อมต่อกับสรรพสิ่ง กับอุปกรณ์ใดๆ ก็ได้ (Internet of Thing ) ฉะนั้นโอกาสมีมากมายที่ซิป้าจะเข้ามาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพัฒนาระบบของประเทศ ซึ่งผมได้ให้ข้อแนะนำว่า สิ่งที่ทำมาทั้งหลาย ถ้าดำเนินงานกระจายงานมากเกินไป อาจจะไม่ทันเพราะต้องเข้าใจเรามีทรัพยากรจำกัด ทั้งทรัพยากรการเงิน และบุคลากร ฉะนั้นต้องวางยุทธศาสตร์ให้ดีๆ โดยซิป้าอาจเป็นผู้นำ ดำเนินการเรื่องนั้นๆ เอง หรือการเป็นผู้สนับสุนนในการทำกิจการ หรือโครงการที่มีผลกระทบตสูงๆ ของประเทศ เช่น วันนี้ผมมีมาตรการให้ทั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมุ่งเน้นที่จะใช้เวลาในปีนี้ ในการพัฒนาดิจิทัลชุมชน ครอบคลุมลงไปในระดับหมู่บ้าน ทั้งหมดที่มีกว่า 7 หมื่นหมู่บ้าน คือทำลงไปเลย จะทำอะไรที่เป็นโครงการนำร่องหรือทดลองโครงการอย่างเดียวอาจไม่ทันการ
วันนี้สัญญาณดีมากนับตั้งแต่จะมีการวางเเครือข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ต 24,700 หมู่บ้าน ซึ่งจะทำให้ชุมชนท่องถิ่นสามารถทำอะไรได้อีกเยอะ หน้าที่ของซิป้า จะไปเอื้ออำนวยหรือส่งเสริมให้ชาวบ้านเขาทำมาหากินอย่างไร จะไปช่วยให้ขายสินค้าโอท็อปอย่างไร มีแพลตฟอร์มอะไรบ้างที่เข้ามาช่วย รวมทั้งการมีระบบสาธารณสุขที่ดี หรือที่เรียกว่า E-Health การที่ชาวบ้านจะมีระบบสาธารณสุขที่ดีขึ้น อี Health หรือให้บริการชาวบ้านในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับกระทราวงมหาดไทย โดย ให้บริการกับชาวบ้านในเรื่องต่างๆ ผ่านเครือข่าย e- Government ซึ่งสามารถที่จะมีซอฟต์แวร์ หรือคอนเทนต์ หรือองค์ประกอบอี่นๆ ที่ซิป้าจะเข้าไปสนับสนุน รวมทั้งเรื่องใหญ่อื่นๆ ที่มีวิสัยทัศน์คิดร่วมกัน
เช่น ปัจจุบันซิป้าจะเป็นแกนหลักในด้านการส่งเสริมได้คือ Animation Industry ที่ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราเห็นแล้วว่า คนไทยมีศักยภาพสูง ถ้าเราวางยุทธศาตร์ด้านการส่งเสริมดี ๆ ให้เหมาะสม อุตสาหกรรมนี้จะเติบโตยิ่งขึ้น ให้คิดยุทธศาสตร์ที่สร้างผลกระทบสูง และเราก็ทราบดีว่า ในระดับโลกมี Holly Wood, Pixar Studio ซึ่งนอกเหนือภาพยนตร์ ปกติแล้วก็ทำแอนเนิเมชั่นด้วย แอนิเมชั่นก็เป็นเรื่องที่ต้องการของตลาด เป็นเรื่องทันสมัย เมืองไทยก็มีคนเก่ง ด้านเทคโนโลยีจะมีบ้าง ไม่มีบ้าง แต่ถ้าผ่านมาทางซิป้า สามารถที่จะชักชวนผู้เล่นรายใหญ่ๆ ของโลก เช่น Holly Wood, Pixar Studio มาลงทุนในที่เหมาะสม เช่น เชิญชวนมาภูเก็ต ซึ่งจะทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ แอนิเมชัน เกิดขึ้นได้ และสิ่งใหญ่ๆ เหล่านี้และอีกงานที่มองว่า
จะทำให้เกิดการจ้างงานในอุตสาหกรรม และทำให้นิสิต นักศึกษา ทำเรื่องใหม่ๆ เหล่านี้ได้ จะเกิดเกิดซัพพลายเชน จะเป็นการจ้างงานอย่างกว้างขวาง เกิดบริษัทใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด โดยสรุปก็ให้กำลังใจกับบุคลากรซิป้า ซึ่งปีนี้เป็นปีแห่งการเปลี่ยนผ่าน จะมีพ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมซึ่งขณะนี้ผ่านสภา 3 วาระเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นการปรับตัวของกระทรวงดิจิทัลเป็นการปรับตัวครั้งใหญ่ เหมือนมีกระทรวงใหม่เกิดขึ้นแม้ว่าจะมาจากกระทรวงไอซีทีเดิมก็ตามหน้าที่ที่ของผม พยายามปรับทุกอย่างของกระทรวงดิจิทัลต่อยอดไปด้วยดี ต่อยอดซึ่งกันและกัน และมีเป้าหมายเดียวกันเพื่อการพัฒนาประเทศเพราะถ้ากระทรวงเจิรญก็ทำให้ประเทศชาติเจริญไปด้วยเป็นสิ่งที่ดี เราดูว่าพยายามขับเคลื่อนให้ดิจิทัลเป็นอาวุธที่สำคัญ ให้เกิดโนฮาวเทคโนโลยีใหม่ๆ ก่อให้เกิดการจ้างงานให้เป็นศูนย์กลางดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน
นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ประธานกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ กล่าวเสริมว่า จากที่รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีนโยบายว่า 1 ปีจากนี้จะขับเคลื่อนดิจิทัลชุมชนนั้น หน้าที่ของซิป้าคือ “ไปทำให้เขาทำเป็น” ไม่ว่าจะเป็น Village E-commerce, Village E-health, Village E-government ซึ่งซิป้ามีโครงการตามนี้รองรับอยู่แล้ว เช่น โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (Entrepreneur Total Digital Service) , PHR, อบรมบุคลากรภาครัฐ เป็นต้น
การขับเคลื่อนผู้ประกอบการตามโครงการ Entrepreneur Total Digital Services เบื้องต้นจะทำ 10 จังหวัดจังหวัดละ 20 ชุมชน ๆ ละ 20 ผู้ประกอบการ รวมเป็นผู้ประกอบการประมาณ 4,000 ราย อาทิเชียงใหม่ น่าน ลำปาง ภูเก็ต นครศรีธรรมราช โดยใน 10 จังหวัดแรกจะมุ่งเน้นให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจดิจิทัลที่ไม่ซ้ำซ้อนกับสื่อดิจิทัลชุมชน
โดยเบื้องต้นจะเลือกชุมชนที่ทำการเกษตรและสินค้าOTOP ก่อน ซึ่งทางซิป้าจะจัดหน้าที่คอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ
และให้ความรู้ว่าการทำธุรกิจแบบอีคอมเมิร์ซเป็นอย่างไร จะจัดเจ้าหน้าที่ไปคลุกคลีกับชาวบ้านและเป็นพี่เลี้ยงตลอดทั้งปี
ในงบประมาณที่วางไว้ประมาณ 50 ล้านบาท และตั้งเป้าโครงการฯ ใน 10 จังหวัดแรกจะต้องประสบความสำเร็จในปี 2561
สำหรับโครงการส่งเสริมพื้นที่พิเศษสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล จ.ภูเก็ต หรือโครงการ Phuket Smart City จะทำต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2560 แต่จะมุ่งลงพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผู้ประกอบการที่ส่งเสริมจะเน้นด้านเกษตร โดยกิจกรรม
ต่าง ๆ จะร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้เกี่ยวกับการแนะนำเทคนิคต่าง ๆ ในการทำการเกษตรแนวใหม่ อาทิ มีเซ็นเซอร์รดน้ำ
แปลงผัก วิธีตรวจสอบดินเพื่อเตรียมเพาะปลูก การใช้เทคโนโลยีโดรนบังคับในการว่านเมล็ดพืช เป็นต้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น