ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เปิดตัวโซลูชั่นใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์แพลตฟอร์มและซอฟต์แวร์ Object Storage รายแรกและรายเดียว ที่มาพร้อมความสามารถของ Content Intelligence
Hitachi Content Intelligence จะช่วยให้องค์กรสามารถแปลงข้อมูลเป็นสารสนเทศทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
และนำเสนอให้กับบุคคลที่เหมาะสมในช่วงเวลาที่ต้องการที่สุด
บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ (HDS) ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด เปิดตัว Hitachi Content Intelligence โซลูชั่นที่เข้ามาเสริมความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ Hitachi Content Portfolio (HCP) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มและซอฟต์แวร์บริหารจัดการข้อมูล ไฟล์ และเนื้อหาระดับองค์กร รวมถึงเป็น Hybrid Storage Cloud Gateway เชื่อมต่อ Private Cloud กับ Public Cloud แบบครบวงจร ทำให้ขณะนี้ HCP กลายเป็นโซลูชั่นระบบจัดเก็บข้อมูลแบบออบเจ็กต์ (Object Storage) เพียงรายเดียวที่มีความสามารถด้านการสืบค้นและการวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถให้องค์กรสามารถจัดการข้อมูลเชิงกลยุทธ์ได้อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีลูกค้ามากกว่า 1,700 รายที่ได้นำเอา HCP มาใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการแปรรูปองค์กรให้ก้าวสู่ระบบดิจิทัล หรือ Digital Transformation แล้ว โดยเมื่อใช้ Hitachi Content Intelligence ลูกค้าจะสามารถแปลงข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องและนำเสนอให้กับบุคคลที่เหมาะสมเมื่อถึงช่วงเวลาที่ต้องการที่สุดได้
Hitachi Content Intelligence จะช่วยจัดการปัญหาต่างๆ ที่องค์กรในปัจจุบันประสบอยู่ในเรื่องของการค้นหาและสืบค้นผ่านเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากและถูกจัดเก็บในแหล่งต่างๆที่แยกจากกันในองค์กร ด้วยความสามารถในการรวบรวมข้อมูลที่แตกต่างกันได้อย่างหลากหลาย ทั้งแบบข้อมูลที่มีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง และแบบกึ่งโครงสร้าง ทำให้ Hitachi Content Intelligence สามารถเรียกนำเสนอข้อมูลเชิงลึก ตลอดจนจัดการและควบคุมข้อมูลให้ดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยสามารถเข้าใจรูปแบบการกระจายตัวของข้อมูลภายในองค์กรโดยพิจารณาจากความสำคัญของข้อมูลที่มีต่อธุรกิจในส่วนต่างๆเป็นหลัก ตัวอย่างขององค์กรที่ได้มีการนำ Hitachi Content Intelligence มาใช้แล้ว อาทิ เช่น
Rabobank ซึ่งเป็นธนาคารระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้บริการลูกค้ามากกว่า 10 ล้านคนใน 47 ประเทศ โดยมีพนักงานมากกว่า 51,000 คน และเช่นเดียวกับสถาบันการเงินทุกแห่ง ธนาคารแห่งนี้จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบในแต่ละประเทศที่เปิดดำเนินการอย่างเคร่งครัด Rabobank ต้องการโซลูชั่นที่จะช่วยให้การตรวจสอบด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบในปัจจุบันและในอนาคตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ยืดหยุ่น และครอบคลุมที่สุด HCP และ Hitachi Content Intelligence ของธนาคารสามารถกำหนดสิทธิ์ให้กับผู้ใช้ที่ได้รับอนุมัติสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดที่ต้องการได้จากโต๊ะทำงานโดยไม่ต้องร้องขอการสนับสนุนช่วยเหลือจากฝ่ายไอที
มร. วอลเตอร์ เฮนดริค ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาและวิเคราะห์ธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านการกำกับดูแลการดำเนินงาน ธนาคาร Rabobank กล่าวว่า “Hitachi Content Platform ได้เปลี่ยนวิธีที่เราใช้ในการจัดการตรวจสอบองค์กรว่าได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่มีอยู่หรือไม่ และยังช่วยลดเวลาที่ต้องใช้ในการสืบค้นข้อมูลจากระดับสัปดาห์เหลือเพียงระดับชั่วโมง ขณะนี้ Hitachi Content Intelligence ได้กลายเป็นส่วนสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสถาปัตยกรรมและแนวทางของเราด้านการติดตามตรวจสอบ การสืบค้น และการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบทั่วโลกได้อย่างถูกต้อง”
บรรดาลูกค้าอย่าง Precision Discovery ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำที่ปรึกษาด้านบริการ e-Discovery และหลักฐานข้อมูลทางดิจิทัลในสหรัฐอเมริกา และ National Archives and Record Administration (NARA) ซึ่งเป็นหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาที่เก็บรวบรวมข้อมูลภาครัฐ ทั้งในส่วนของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ ประธานาธิบดี และเอกชนที่สนับสนุนโครงการ เพื่ออนุรักษ์ข้อมูลสำคัญของชาติ ต่างก็หันมาปรับใช้โซลูชั่นจากฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ให้ช่วยแก้ปัญหาในการริเริ่มเปลี่ยนองค์กรสู่ระบบดิจิทัลที่กำลังมีความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจของตน ด้วยการผสานรวมการทำงานที่ราบรื่นของ Hitachi Content Intelligence กับแพลตฟอร์ม HCP ที่ลูกค้ามีอยู่ ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทั้งแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างที่กำลังขยายตัวอย่างไม่สิ้นสุดได้โดยไม่ต้องเรียกใช้บริการจากภายนอก
มร. เจสัน วันวอลเคนเบิร์ก รองประธาน บริษัท ฮิตาชิ คอนซัลติ้ง ทำหน้าที่ดูแลจัดการโครงการและการพัฒนาโปรแกรมร่วมกับบริษัท ViON Corporation ซึ่งเป็นบริษัทพาร์ทเนอร์ในโครงการภาครัฐกับ HDS กล่าวว่า หน่วยงาน NARA ใช้ HCP และ Hitachi Content Intelligence เพื่อจัดเก็บ รักษา และทำให้สามารถเข้าถึงชุดระเบียนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาลที่มีความสำคัญยิ่ง ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลอีเมล รูปภาพ เอกสาร และแอปพลิเคชั่นต่างๆอีกนับสิบรายการที่ได้รับการแปลงรูปแบบให้กลายเป็นระบบเปิด(Open formats) แล้วในตอนนี้ โดยที่หนึ่งในผู้บริหารโครงการได้กล่าวว่า “เราเลือก Hitachi Content Intelligence แทนการปรับใช้แพลตฟอร์มแบบ Solr หรือการสร้างระบบของเราขึ้นมาเอง เนื่องจากโซลูชั่นนี้มีชุดเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ยืดหยุ่นและสามารถผสานรวมการทำงานเข้ากับ HCP ได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้เรายังทราบดีว่าสถาปัตยกรรมของโซลูชั่นนี้ไม่ได้จำกัดสิ่งที่เราต้องการดำเนินการกับแพลตฟอร์มดังกล่าวด้วย”
ด้าน มร. โฮวาร์ด โฮลตัน ผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศ ของบริษัท Precision Discovery กล่าวว่า “Precision Discovery ยอมรับความสามารถของ HCP และ Hitachi Content Intelligence ในการแก้ปัญหาส่วนต่างๆ ในหลักฐานข้อมูลทางดิจิทัลที่อาจก่อให้เกิดคดีความซึ่งส่งผลให้เกิดความยุ่งยากอย่างยิ่งในการบริหารจัดการ แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้เราสามารถสร้างโซลูชั่นแบบกำหนดเองที่ลดต้นทุนให้ลูกค้าได้อย่างมาก และยังเพิ่มความสามารถด้านการแสดงภาพข้อมูลและการบริหารจัดการความเสี่ยงด้วย ซึ่งจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากปราศจากความอัจฉริยะ ความสามารถในการต่อขยาย และความมีประสิทธิภาพของ Hitachi Content Intelligence”
Hitachi Content Intelligence ช่วยให้องค์กรสามารถ:
• เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการทำงานของพนักงานด้วยการสร้างกระบวนการค้นหาสำหรับองค์กรที่ได้มาตรฐานและมีเสถียรภาพครอบคลุมระบบไอทีทั้งหมด
• มอบอำนาจและขีดความสามารถให้กับทุกระดับขององค์กรด้วยรูปแบบความคิดนอกกรอบของการสืบค้น และเข้าถึงข้อมูลได้ด้วยตนเอง เพื่อให้การดำเนินงานในองค์กรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมไปถึงการค้นหาแบบละเอียดและการค้นหาด้วยการประมวลทางภาษาธรรมชาติ
• ได้รับข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ รวดเร็วยิ่งขึ้นผ่านการคัดแยก การแบ่งประเภท การเสริมความสมบูรณ์ และการจัดหมวดหมู่ให้กับข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดแบบอัตโนมัติ
• ลดความเสี่ยงทางธุรกิจและความเสี่ยงจากข้อมูลที่ไม่สามารถเข้าถึง ซ่อนอยู่ หรือสูญหาย ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้กับธุรกิจด้วย
• ปรับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยการระบุข้อมูลที่มีการเข้าถึงไม่บ่อยนักและดำเนินการย้ายตำแหน่งข้อมูลดังกล่าวโดยอัตโนมัติไปยังชั้นจัดเก็บแบบออบเจ็กต์ที่มีต้นทุนถูกกว่า
คุณสมบัติที่สำคัญของ Hitachi Content Intelligence ประกอบด้วย:
• การรวมข้อมูลองค์กรไว้ในระบบส่วนกลางละแปลงข้อมูลดังกล่าวให้เป็นสารสนเทศทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องและมีประโยชน์
• การเชื่อมต่อและการรวบรวมข้อมูลในหลากหลายโครงสร้างจากคลังข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบที่แตกต่างกันและจากตำแหน่งที่ตั้งต่างๆในองค์กร
• การนำเสนอตัวเลือกการปรับใช้ที่ยืดหยุ่น ไม่ว่าจะเป็น Physical Server, Virtual Host รวมไปถึงการติดตั้งบนระบบคลาวด์สาธารณะหรือแบบส่วนตัว
• ความสามารถด้านการปรับขยายระบบและความพร้อมใช้งานระดับสูงที่รองรับคลัสเตอร์หลากหลายขนาดทั้งในรูปแบบกระจายและแบบไดนามิก ซึ่งทำให้เกิดอินสแตนซ์พร้อมกันได้มากกว่า 10,000 อินสแตนซ์
• การเก็บรักษาข้อมูลที่มีความสำคัญให้ปลอดภัยด้วยการตรวจสอบให้แน่ใจว่าจะมีเพียงผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าถึงผลลัพธ์ที่เฉพาะเจาะจงด้วยการผสานรวมบริการตรวจสอบความถูกต้อง การควบคุมการรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลระดับเอกสาร และการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลในระดับที่ละเอียดเข้าไว้ด้วยกัน
• การนำเสนอผลลัพธ์ตามความต้องการและในแบบบริการตัวเองที่สามารถปรับแต่งให้มีรูปแบบเฉพาะตามผู้ใช้แต่ละคน หรือกลุ่มที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลดังกล่าว
• ต่อยอดระบบการทำงานด้วยอินเทอร์เฟซการเขียนโปรแกรมซึ่งรองรับการเชื่อมต่อข้อมูลแบบกำหนดเอง ขั้นตอนการแปลงข้อมูล หรือการสร้างแอปพลิเคชั่นใหม่
• ประยุกต์ใช้งานร่วมกับเครื่องมือออกแบบเวิร์กโฟลว์ เครื่องมือบริหารจัดการ และแอปพลิเคชั่นสำหรับสำรวจและสืบหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“สำหรับองค์กรในปัจจุบัน ข้อมูลถือเป็นสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ที่มีความสำคัญที่สุด และการเชื่อมต่อบุคคลที่เหมาะสมเข้ากับข้อมูลที่ถูกต้องด้วยวิธีการที่เหมาะสมและทันท่วงทีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยรักษาความสามารถด้านการแข่งขันในตลาดได้ ทั้งนี้ Hitachi Content Intelligence ช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดระเบียบ แปลง และจัดกลุ่มข้อมูลองค์กรให้เป็นสารสนเทศที่เป็นข้อเท็จจริง ซึ่งไม่สามารถประเมินค่าได้สำหรับองค์กรธุรกิจ” ดร. มารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และพม่า บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด กล่าวทิ้งท้าย
เกี่ยวกับ Hitachi Content Platform Portfolio
กลุ่มโซลูชั่น HCP เป็นโซลูชั่นแพลตฟอร์มและซอฟต์แวร์บริหารจัดการข้อมูล ไฟล์ และเนื้อหา (Files and Contents) แบบ Object-Based Cloud Storage ของ ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ (HDS) ที่มีคุณสมบัติโดดเด่นในการจัดเก็บค้นหา (Archive) การทำเวอร์ชันของเอกสาร (Versioning) การบริหารจัดแบ่งพื้นที่การใช้งาน (Multi-tenancy) การป้องกันข้อมูลด้วยตนเอง (data protection) การกำหนดอายุของข้อมูล(Data Retention) การเรียกค้นข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ในระบบบรรณารักษ์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ซับซ้อน (Metadata analysis) และสามารถกำหนดการเชื่อมต่อข้อมูลไปยังระบบคลาวด์สาธารณะ (Hybrid Storage Cloud Gateway) ได้ HCP เข้ามาช่วยบริหารข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง ให้รองรับการขยายตัวของข้อมูลจำนวนมาก โดยมาพร้อมกลไกการป้องกันข้อมูลแบบในตัวและพร้อมรองรับเทคโนโลยีระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องมีการสำรองข้อมูลด้วยเทปแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ HCP ยังสามารถจัดการปัญหามากมายผ่านชุมชนพันธมิตรซอฟต์แวร์หลากหลายค่าย และยังช่วยกำจัดความต้องการด้านการดูแลรักษาระบบแบบแยกส่วนสำหรับเวิร์กโหลดในแต่ละครั้งด้วย โดยลูกค้าจะได้รับบริการตามความต้องการได้อย่างรวดเร็วขึ้น หรือในขณะที่ผู้ให้บริการทางไอทีก็จะสามารถนำผลิตภัณฑ์และบริการออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้นด้วยการกำจัดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการผสานรวมการทำงานต่างๆ ที่ต้องดำเนินการด้วยตนเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น