ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เผย 5 เทรนด์สำคัญ เร่งผลักดันแนวทางดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก ปี 2017


ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถูกวางให้เป็นผู้นำในการเดินหน้าสู่เส้นทางองค์กรดิจิทัล เพื่อสร้างรายได้ใหม่ๆ  

รวมถึงเสริมสร้างประสิทธิภาพและโอกาสความเป็นไปได้ต่างๆ

 


มร. ฮิวเบิร์ต โยชิดะ ประธานเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายเทคโนโลยี (ซีไอโอ) บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น และ มร. รัสเซลล์ สคิงส์ลีย์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าวว่า แนวโน้มที่สำคัญด้านธุรกิจและเทคโนโลยีสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปี 2017 คือการแปรรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัล หรือ Digital Transformation จะยังมีผลต่อการวางกลยุทธ์ด้านไอทีขององค์กรในปี 2017 อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นแนวโน้มที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ โดยคาดว่าจะได้เห็นองค์กรจำนวนมากมุ่งมั่นผลักดันแนวทางดิจิทัลให้เติบโตอย่างเต็มที่ ซึ่งตรงกับผลการสำรวจของ Forbes Insights ภายใต้การสนับสนุนของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ที่พบว่าโดยทั่วไปแล้วองค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเชื่อว่าการแปรรูปองค์กรให้ก้าวสู่ระบบดิจิทัลของพวกตนมีความก้าวหน้ามากกว่าภูมิภาคในส่วนอื่นๆ ของโลก ซึ่งความเชื่อนี้จะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในปี 2017


ทั้งนี้ โยชิดะและสคิงส์ลีย์ ได้ระบุ 5 แนวโน้มสำหรับตลาดเทคโนโลยีในปี 2017 ไว้ดังนี้

#1: การเพิ่มประสิทธิผลจะเกี่ยวข้องกับบุคลากร กระบวนการ และผลลัพธ์ทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น


ข้อมูลจากองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือโออีซีดี (OECD) ระบุไว้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ แม้ว่าจะมีการเติบโตของเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล แต่ประสิทธิผลกลับลดลงเมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีก่อนหน้านี้ โดยโยชิดะเชื่อว่าสาเหตุเป็นเพราะกระบวนการทำงานใหม่ๆ ยังไล่ตามเทคโนโลยีใหม่ไม่ทัน มีเพียงแต่บางองค์กรที่สามารถปรับกระบวนการและสร้างปรากฏการณ์ใหม่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลได้สำเร็จ ยกตัวอย่างเช่น ในธุรกิจบริการที่พักอย่าง Airbnb ได้เริ่มต้นการดำเนินธุรกิจเฉกเช่นเดียวกับการใช้เทคโนโลยีธุรกิจโรงแรมแบบดั้งเดิมทั่วๆไป แต่ด้วยการปรับสู่ระบบดิจิทัลโดยการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ทำให้บริษัทสามารถเพิ่มมูลค่าของตลาดได้ถึง 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในเวลาไม่ถึง 10 ปี จะเห็นได้ว่าการแปรรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัลเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปธุรกิจผ่านทั้งบุคลากรและกระบวนการ รวมถึงผ่านทางการใช้เทคโนโลยีใหม่ในเชิงสร้างสรรค์ ด้วยเหตุนี้ ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีความคล่องตัว (Agile) ระบบคลาวด์ และการนำเอาหลักการพัฒนาแอปพลิเคชั่น แบบ DevOps (Development Operation) ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในด้านบุคคลากรและกระบวนการทำงานโดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้การพัฒนาและส่งมอบซอฟต์แวร์ให้การดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว เกิดข้อผิดพลาดน้อย และไม่ต้องใช้ทรัพยากรมากนัก

​“ส่วนโมเดลโครงสร้างพื้นฐานที่มีความคล่องตัวและระบบคลาวด์ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับองค์กรให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจและเกิดไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ๆ สำหรับการผลักดันโครงการเทคโนโลยีของตนให้บรรลุผลสคิงส์ลีย์ เสริม

#2: การเดินหน้าเข้าสู่ระบบคลาวด์อย่างรวดเร็ว



มร.เอ็ด แอนเดอร์สัน รองประธานฝ่ายงานวิจัย บริษัท การ์ทเนอร์ กล่าวว่า กลยุทธ์ Cloud First หรือการให้ความสำคัญกับระบบคลาวด์ก่อนเป็นอันดับแรก คือรากฐานสำคัญเพื่อความอยู่รอดขององค์กรในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าตลาดอาเซียนตอบรับแนวทางนี้อย่างรวดเร็ว และภูมิภาคเอเชียได้กลายเป็นผู้นำของโลก จากดัชนีความพร้อมในการใช้ระบบคลาวด์ (Cloud Readiness Index) ของปีนี้ ซึ่งสำรวจโดยสมาคม Asia Cloud Computing Association


​“โมเดลคลาวด์ที่มีความโดดเด่นอย่างมากต่ออนาคตอันใกล้นี้คือระบบคลาวด์แบบไฮบริด เนื่องจากองค์กรส่วนใหญ่มีความเข้าใจ ยอมรับในความคล่องตัว และความประหยัดของระบบคลาวด์สาธารณะ แต่ยังไม่พร้อมที่จะย้ายระบบทั้งหมดไปยังระบบนี้ ไฮบริดคลาวด์จึงมีประโยชน์ประสานระหว่างคลาวด์สาธารณะ และคลาวด์ส่วนตัว ที่เด่นเรื่องความปลอดภัยภายใต้ความควบคุมของฝ่ายไอที เราคาดว่าความต้องการนี้จะยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2017” สคิงส์ลีย์ ให้ความเห็น


ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกที่ผู้บริหารด้านไอทีทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้ความสนใจในการพัฒนาทักษะด้านการติดตามตรวจสอบการจัดการด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพด้านเวิร์กโหลด รวมถึงการบริหารความจุของระบบคลาวด์ เพราะแทนที่จะต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจากหลากหลายผู้จำหน่ายและต้องผสานรวมโครงสร้างดังกล่าวเข้าด้วยกันโดยใช้ซอฟต์แวร์ด้านการจัดการ ฝ่ายไอทีจึงมองหาโซลูชั่นที่มีความสามารถแบบครบวงจรในรูปของการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure as a Service  - IaaS) หรือในแบบระบบคอนเวิร์จมากกว่า เนื่องจากระบบนี้จะรวมระบบเซิร์ฟเวอร์ ระบบสตอเรจ และระบบเน็ตเวิร์คเข้าด้วยกันจะช่วยให้องค์กรสามารถลดต้นทุนได้อย่างมากและบริหารโครงสร้างพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่าง เช่น Hitachi United Compute Platform ที่ผนวกเข้ากับระบบจัดการคลาวด์ เช่น VMware vRealize เพื่อนำเสนอระบบแบบเสร็จสรรพ สำหรับระบบคลาวด์แบบสาธารณะ แบบส่วนตัว และแบบไฮบริดผ่านส่วนควบคุมการบริหารจัดการ จุดเดียว

#3: Bimodal IT

Bimodal IT หมายถึงแนวทางด้านไอที 2 รูปแบบ ได้แก่:

รูปแบบที่ 1: แบบดั้งเดิมเน้นความปลอดภัย ความถูกต้องแม่นยำ และความพร้อมใช้งาน

รูปแบบที่ 2: แบบไม่คงที่ (Nonlinear) — เน้นความคล่องตัวและความเร็ว

ทั้งนี้ไม่ต่างจากที่ระบบคลาวด์แบบไฮบริดจะยังคงเป็นโมเดลที่โดดเด่นในอีกหลายปีนับจากนี้ โดยที่แนวทาง Bimodal IT ก็จะมีความสำคัญอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน  แม้ว่าหลายคนอาจต้องการกำจัดกลุ่มแอปพลิเคชั่นแบบเดิมออกไปแล้วเริ่มต้นใหม่ แต่ในความเป็นจริงการดำเนินธุรกิจยังคงจำเป็นต้องประสานทั้งสองแบบและต้องดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำเป็นต้องสร้างบนรากฐานของระบบที่สนับสนุนและเข้าใจการทำงานของระบบหลัก (Mission-critical systems) อย่างแท้จริง ดังนั้น ฝ่ายไอทีจะต้องสามารถจัดการแนวทางทั้งสองรูปแบบนี้ให้ได้ และต้องเลือกใช้ระบบที่สามารถเชื่อมโยงแนวทางทั้งสองนี้เข้าไว้ด้วยกันอย่างเหมาะสม โซลูชั่นแบบคอนเวิร์จจะสามารถทำให้แนวทางในรูปแบบที่ 1 มีความทันสมัยและเชื่อมโยงเข้ากับแนวทางในรูปแบบที่ 2 ผ่านส่วนควบคุมที่สามารถจัดระเบียบและความพร้อมในการใช้งานระบบคลาวด์ได้อย่างเห็นผล


แม้ว่าการดำเนินแนวทางทั้งสองอย่างจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก แต่เชื่อว่าองค์กรต่างๆ จะไม่ยอมให้ข้อมูลของตนต้องถูกปล่อยทิ้งไว้ในคลังเก็บของแนวทางแบบที่ 1 จนทำให้ต้องสูญเสียข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจที่มีค่ายิ่ง ทั้งนี้มีเครื่องมือต่างๆ มากมาย เช่น Pentaho Enterprise Data Integration ที่สามารถนำคลังข้อมูลของแนวทางในรูปแบบที่ 1 มารวมเข้ากับข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้างของแนวทางในรูปแบบที่ 2 เพื่อให้ผู้ใช้มีมุมมองที่ชัดเจนในข้อมูลทั้งหมดของตนและส่งผลให้เกิดการผลักดันโครงการที่สำคัญต่างๆ

#4: ฮับข้อมูลส่วนกลาง


ข้อมูลกำลังกลายเป็นสิ่งที่มีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ งานวิจัยล่าสุดของบริษัท ไอดีซี พบว่า 53% ขององค์กรในภูมิภาคแห่งนี้มองว่าข้อมูลขนาดใหญ่ (บิ๊กดาต้า) และการวิเคราะห์เป็นเรื่องสำคัญและได้นำมาใช้หรือวางแผนที่จะนำมาใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ จะเห็นได้ว่าบริษัทต่างๆ กำลังแสวงหาแนวทางใหม่ๆ ในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์และผสานรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นและสามารถปรับใช้ข้อมูลเก่าเพื่อวัตถุประสงค์ที่เป็นประโยชน์อื่นๆ ได้


​“บทเรียนสำคัญที่ได้จากองค์กรธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตใหม่ๆที่ประสบความสำเร็จและสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับธุรกิจได้นั้น คือการจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่ง โดยสิ่งที่เป็นรากฐานสำคัญองค์กรเหล่านี้มีก็คือการผสานรวมข้อมูลต่างๆที่ใช้งานง่าย และให้ได้หลักการดำเนินธุรกิจอย่างชาญฉลาด องค์กรดั้งเดิมตระหนักดีว่า พวกเขายังไม่ได้ใช้ข้อมูลอันมีค่าของตนให้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็นสคิงส์ลีย์ กล่าว


ฝ่ายไอทีจึงจำเป็นต้องสร้างฮับข้อมูลส่วนกลางสำหรับการบริหารจัดการ การใช้ และการปกป้องข้อมูลของตนให้ดียิ่งขึ้น โดยฮับส่วนกลางนี้ควรเป็นระบบจัดเก็บแบบออบเจ็กต์ที่มีขีดความสามารถปรับขยายได้มากกว่าระบบจัดเก็บข้อมูลแบบดั้งเดิม มีความสามารถในการบริหารการเคลื่อนย้ายข้อมูล และระบบบรรณารักษ์ข้อมูลแยกย่อยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ตลอดจนครอบคลุมระบบคลาวด์ทั้งในแบบสาธารณะและแบบส่วนตัว รวมถึงอุปกรณ์มือถือด้วย สคิงส์ลีย์ เรียกสิ่งนี้ว่าระบบจัดเก็บทุกสิ่งที่องค์กรรู้จัก” (repository of everything an organization knows) และเชื่อว่าองค์กรจะไม่ยอมปล่อยให้ข้อมูลที่สำคัญและมีศักยภาพถูกทิ้งไว้ในระบบจัดเก็บข้อมูลอย่างถาวรหรือระบบสำรองข้อมูลโดยที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ใดๆ อีกต่อไป


#5: การตระหนักถึง IoT ในศูนย์ข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น


มร. โยชิดะ กล่าวว่าระบบเครือข่ายของสิ่งต่างๆ จะมีผลต่อชีวิตของเราในทุกด้าน และแม้ว่าสิ่งนี้อาจไม่ใช่แนวโน้มสำคัญนักสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปีหน้า แต่ทุกการตัดสินใจด้านไอทีที่เกิดขึ้นในปี 2560 ควรให้ความสำคัญกับแนวคิดของอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (IoT) ด้วยเช่นกัน การผสานรวมเทคโนโลยีดำเนินงาน (Operational Technology: OT) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) เข้าด้วยกันกับการวิเคราะห์คือก้าวแรกที่สำคัญ โดยปัจจุบัน IoT ต้องการนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลและนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในเชิงลึกและโครงการส่วนใหญ่กำลังอยู่ในขั้นของการทดสอบแนวคิด (proof-of-concept) อยู่ ในปี 2017 เราจะอยู่ในขั้นของการนำแพลตฟอร์มการดำเนินงานมาปรับใช้กับโครงการต่างๆ ด้าน IoT เช่น ระบบขนส่งรถไฟแบบ train-as-a-service หรือแนวคิด Industry 4.0 ทั้งนี้ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พร้อมกับบริษัทธุรกิจในเครือของ บริษัท ฮิตาชิ และพันธมิตรเทคโนโลยี กำลังร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มหลักของ IoT นั่นคือ Lumada เพื่อสร้างเป็นแพลตฟอร์มเฉพาะและนำเสนอโซลูชั่น IoT ที่ผ่านการทดสอบแล้วเพื่อให้ได้ระบบแบบเปิดที่ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ มีความถูกต้อง และปลอดภัย


​ “แนวโน้มในปีหน้าจะได้รับแรงแรงผลักดันจากความต้องการที่ชัดเจนขององค์กรที่มุ่งมั่นในการแปรรูปสู่ระบบดิจิทัล โดยที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถูกวางให้เป็นผู้นำในการเดินหน้าสู่เส้นทางสายนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในธุรกิจใดก็ตาม ฝ่ายไอทีต่างมีความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากการแปรรูปเข้าสู่ระบบดิจิทัลอันส่งผลต่อการสร้างรายได้ใหม่ๆให้องค์กร รวมถึงการเสริมสร้างประสิทธิภาพและโอกาสความเป็นไปได้ต่างๆมร. สคิงส์ลีย์ กล่าวทิ้งท้าย

 

ความคิดเห็น