SIPA เผยผลสำรวจตลาดซอฟต์แวร์ไทย ปี 2558 มูลค่าการผลิตเติบโตร้อยละ 1.2


SIPA ร่วม IMC สำรวจมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ปี 2558 ชี้เติบโตเล็กน้อย ปัจจัยจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ - Software-enable Service ทำให้อุตสาหกรรมเกิดการเปลี่ยนแปลง คาดปี 2559 และ 2560 ยังเติบโตต่อเนื่องร้อยละ 4.4และ 4.3 ผลจากกระตุ้นการใช้ Promptpayและการขยายโครงสร้างพื้นฐาน  

นางสุวิมล เทวะศิลชัยกุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ กล่าวถึง การสำรวจมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ของประเทศไทย ประจำปี 2558 จัดขึ้นเพื่อติดตามความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในแต่ละปีของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการวางแผนนโยบายต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน โดยการสำรวจในปีนี้ ได้ขยายประเภทการสำรวจเพิ่มขึ้น ในกลุ่มสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์และสารสนเทศ พร้อมรวบรวมข้อมูลกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ด้านเทคโนโลยี (Tech Startup) ในประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐและทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์

สำหรับผลการสำรวจการผลิตซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ประจำปี 2558 มีมูลค่ารวม 52,561 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากปี 2557 เพียงร้อยละ 1.เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจทำให้การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ทั้งในภาครัฐและเอกชนชะลอตัวตาม แต่ทั้งนี้ในกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง ซึ่งมีรายได้ระหว่าง 100 - 500 ล้านบาทกลับมีอัตราการเติบโตทางธุรกิจเนื่องจากกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้พึ่งพิงกับโครงการขนาดใหญ่  อย่างไรก็ดีในปี 2559 มูลค่าการผลิตซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์อัตราการเติบโตราวร้อยละ 4.มีมูลค่ากว่า 54,893 ล้านบาท ขณะที่ปี 2560 คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 4.3 และมีมูลค่ากว่า 57,257 ล้านบาท

รองผู้อำนวยการฯ เผยว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ในปี 2559 มีอัตราเติบโต คือ 1ภาคการเงิน ได้รับการกระตุ้นเชิงนโยบายจากโครงการพร้อมเพย์ (Promptpayผลักดันให้มีการลงทุนเพิ่มทั้งด้านซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์และด้านความปลอดภัยของข้อมูล 2ภาคโทรคมนาคม เกิดจากโครงการขยายเครือข่ายสื่อสารไร้สาย เทคโนโลยี 4G ที่ได้รับใบอนุญาตไปแล้ว ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์จากระบบ 3G สู่ 4G และโครงการขยายโครงข่ายบริการบรอดแบนด์ทั่วประเทศ

นอกจากนี้ผลการสำรวจด้านซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัวประจำปี 2558 มีมูลค่ารวม 6,039 ล้านบาท เติบโตขึ้นร้อยละ 3.5 จากปีก่อน เกิดจากปัจจัยการขยายตัวของผู้ออกแบบและพัฒนาระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว โดยมีทรัพย์สินทางปัญญาของตนเอง(IP-based system designerและผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว เพื่่อใช้กับสินค้าของบริษัท โดยมีฐานะเป็นหน่วยผลิตภายใน (In-house producer) อย่างไรก็ดีคาดการณ์ว่ามูลค่าการผลิตซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัวจะเติบโต กว่าร้อยละ 5 ในปี 2559 และร้อยละ 6.ในปี 2560 ส่วนมูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ ปี 2558 ของประเทศไทยมีมูลค่า 3,330 ล้านบาท โตขึ้นกว่าร้อยละ 0.3 ขณะที่การนำเข้าซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์จากต่างประเทศมีมูลค่า 32,944 ล้านบาท และซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์เพื่อการพัฒนาในองค์กร (In-Houseมีมูลค่า 14,903 ล้านบาท

 

 

ทั้งนี้การดำเนินการปีนี้ได้ทำการสำรวจกลุ่มสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์และสารสนเทศเป็นปีแรกพบว่า บัณฑิตสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปี 2556 มีจำนวน 12,619 คน ซึ่งมีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ยังได้ทำการรวบรวมข้อมูลกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ด้านเทคโนโลยี (Tech Startupพบว่ามีจำนวน 348 รายในประเทศไทย และมีมูลค่าการระดมทุนที่เปิดเผยได้กว่า1,188 ล้านบาท (ข้อมูลจาก Google, Temasek และ TechSauce)



นางสุวิมล กล่าวถึง ผลการสำรวจในปีมีข้อสังเกตว่า พฤติกรรมการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้ SaaS (Software as a Service) มากขึ้น ซึ่งการแข่งขันจะพึ่งพิงจากเวนเดอร์ต่างประเทศเป็นหลัก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเป็นตัวแปรที่มีนัยสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่น่าจับตามอง  

รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี กล่าวในฐานะผู้ดำเนินโครงการสำรวจข้อมูลตลาดซอฟต์แวร์ว่า  ผลการสำรวจของปี 2558 พบข้อสังเกตที่มีนัยสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดซอฟต์แวร์         ประการ คือ ประการแรก ภาพรวมของการผลิตซอฟต์แวร์มีอัตราการเติบโตเพียงเล็กน้อย ทั้งซอฟต์แวร์สำเร็จรูป และบริการซอฟต์แวร์ โดยมี Software-enable Service หรือบริการที่เกิดจากการใช้ซอฟต์แวร์ เป็นตัวแปรการเปลี่ยนแปลง และมีแนวโน้มว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ในอนาคต ประการที่สอง เทคโนโลยีใหม่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ ได้แก่ Cloud Technology และ SaaS (Software as a Serviceทำให้พฤติกรรมการบริโภคซอฟต์แวร์เปลี่ยน โดยมีแนวโน้มที่จะย้ายไปสู่การใช้บริการซอฟต์แวร์บนเทคโนโลยีคลาวด์แทนการติดตั้งซอฟต์แวร์สำเร็จรูปบนเครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น นอกจากนี้ผลการสำรวจยังพบว่า ปี 2558 สถาบันหลายแห่งมีการเปิดการเรียนการสอนในวิชา Emerging Technologies เช่น Embedded System,Cloud Technology, Internet of Things (IoT) และ Big Data เป็นต้น นับเป็นทิศทางที่ดีต่อการผลิตบัณฑิตที่จะจบการศึกษาในอนาคตอันใกล้นี้

ความคิดเห็น