ปอท.เดินหน้าปราบอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เปิดกลลวงสุดเด็ดของโจรที่ใช้หลอกเหยื่อในโลกออนไลน์ ผ่านความรักที่หลอกลวง
พ.ต.อ.ภาณุวัตณ์ ร่วมรักษ์ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำตวามผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และ พ.ต.อ. ศิริวัฒน์ ดีพอ ผู้กำกับการ 2 กองบังคับผู้บังคับการปราบปรามการกระทำตวามผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ปัจจุบันทั้งโจรไทยและต่างชาติ ต่างมุ่งหาความอ่อนไหวของคนเพียงแค่มีสมาร์ทโฟน แต่คนร้ายมักจะสนใจคนที่โสด คนมีอายุ การศึกษาดี และ มีเงิน เป้าหมายหลักแม่หม้าย เลิกสามี มีมรดก
ซึ่งสาเหตุที่โจรเลือกเหยื่อที่มีอายุและการศึกษาดี เนื่องจากมักมีรายได้ หรือมีเงินเก็บที่แน่นอน ปัจจุบันคนร้ายสามารถหาข้อมูลของเหยื่อได้ง่าย เพียงเฝ้าดูความเคลื่อนไหวผ่านโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ พอได้ข้อมูลแล้ว โจรก็จะวางแผนหาวิธีจัดการกับเหยื่อ ดังนั้นการโพสต์โชว์ความหรูหราของตนเองอาจทำให้ตกเป็นเหยื่อได้
1. ตกหลุมรักเราอย่างรวดเร็ว ทั้งที่เริ่มคุยกันไม่นาน เรียกเราว่าที่รัก เหมือนกันทุกรายกันเรียกชื่อผิด สักพักจะขอแต่งงาน สาเหตุที่โจรเรียกเหยื่อว่าที่รัก ก็เพราะโจรมักจะคุยกับเหยื่อหลายคน
2. ไม่เปิดกล้องวีดีโอ ไม่ยอมให้เห็นหน้าจริง จะคอยบ่ายเบี่ยงตลอด ส่วนรูปที่ใช้เป็นโปรไฟล์จะเอารูปคนหน้าตาดีมาหลอกเหยื่อ และถ้าคู่สนทนาของคุณเป็นชาวต่างชาติจะใช้รูปเป็นฝรั่งผิวขาวแทนทั้งหมดเพราะตัวจริงเป็นคนผิวดำ
3. คบกันไม่นานจะมีเหตุให้เหยื่อต้องเสียเงิน โจรจะใช้ร้อยแปดเหตุผลให้เราโอนเงินให้ ชวนทำธุกิจ อ้างว่าตนเองไม่สบาย พ่อแม่ป่วยมีปัญหาชีวิตทำให้เราสงสาร เพื่อโอนเงินเป็นค่ารักษา ส่วนการจ่ายค่าธรรมเนียมนั้น โจรจะใช้วิธีหว่านล้อม ในการรับของขวัญสุดแพงที่เขาส่งมาให้ โดยโจรจะใช้คนกลางอีกคนเป็นนกต่อโทรหาเหยื่อแล้วแสร้งว่าเป็นคนจากบริษัทขนส่ง หรือ ศุลกากร เพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการขนส่ง
4. กรณีเป็นชาวต่างชาติมักบอกตัวเองเป็นคนอังกฤษ หรือ อเมริกัน แต่เขียนภาษาอังกฤษผิดตลอด เพราะว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 99 จะเป็นคนผิวดำไนจีเรียปลอมตัวมาในคราบฝรั่งขาวโปรไฟล์ดี
5. คุยกันไม่นานชวนเปิดกล้อง ทำกิจกรรม sex online ส่วนใหญ่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อมักเป็นผู้ชายนึกสนุก แต่หารู้ไม่ว่าในขณะที่คุณกำลังสนุกกับกิจกรรมดังกล่าว คนร้ายกำลังอัดคลิปขณะที่คุณกำลังสำเร็จความใคร่ไว้แบล็กเมล์ทีหลัง
ตำรวจไซเบอร์เผยข้อเท็จจริงที่ต้องแปลกใจในการหลอกรักออนไลน์ที่คุณคาดไม่ถึง 5 เรื่องที่จะทำให้ตะลึง ได้แก่
1. มีเหยื่อมากมายที่ญาติต้องบังคับให้มาแจ้งความ หลังถูกหลอกให้โอนเงินให้คนรักออนไลน์ไปมหาศาล แม้ในวันที่มาแจ้งความเหยื่อยังคงปักใจเชื่อว่านั่นคือรักแท้ และไม่เชื่อว่าตัวเองถูกหลอก 2. คนถูกหลอกมักเป็นคนหน้าที่การงานดี การศึกษาดี ไม่ใช่คนเรียนร้อยอย่าที่เข้าใจ
3. เหยื่อที่หลงเชื่อส่วนมากมักเป็นวัยกลางคนถึงสูงอายุ มีอายุอยู่ในช่วงตั้งแต่ 45 – 60 ปี และเงินนั้นมักเป็นเงินเก็บจากการทำงานมาตลอดชีวิต
4. รายที่สูญเสียมากที่สุดได้โอนเงินให้คนรักที่ไม่เคยพบหน้าแม้แต่ครั้งเดียวเป็นจำนวน 26 ครั้ง เป็นเงินทั้งสิ้น 33 ล้านบาท ใช้เวลาเกือบ 2 ปี ก่อนเหยื่อจะทราบว่าถูกหลอก
5. ไม่น่าเชื่อโจรสามารถใช้จิตวิทยาในการทำให้เหยื่อรายหนึ่งหลงเชื่อและโอนเงินให้มิจฉาชีพได้ถึง 83 ครั้ง รวมเป็นเงิน 13 ล้านบาท
ตัวเลขความเสียหายดังกล่าวเป็นเพียงสถิติจากผู้ที่เข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้า ปอท.เท่านั้น ไม่ได้นับรวมถึงเหยื่ออีกมากมายที่เข้าแจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องที่อื่น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น