เดลล์ เผยเทรนด์ “Digital Transformation” คือดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการเป็นองค์กรแห่งอนาคต

กรุงเทพฯ ประเทศไทย วันที่ 18 ธันวาคม 2558 – เดลล์ ชี้เทรนด์ธุรกิจ และเทคโนโลยีเคลื่อนสู่ยุค การพลิกโฉมธุรกิจไปสู่ดิจิตอล” (Digital Transformation) ระบุเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่จะเข้ามามีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงคือ คลาวด์  ข้อมูลขนาดใหญ่ และการวิเคราะห์ (Big Data/Analytic) โซเชียล เน็ตเวิร์ค โมบิลิตี้ และ IoT เตรียมจัดทัพรุกให้คำปรึกษา พร้อมช่วยองค์กรธุรกิจเปลี่ยนโฉมทรานส์ฟอร์มตัวเองด้วยเพื่อรับธุรกิจรูปแบบใหม่ ขณะเดียวกัน เปิดผลการวิจัยภายใต้ “ดัชนีชี้วัดความพร้อมสำหรับอนาคต (Future Ready Index) เผยริษัทที่ลงทุนใน คลาวด์ โมบิลิตี้ ซีเคียวริตี้ และบิ๊กดาต้า โตเร็วกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้มากกว่า 50%

 

นายอโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และผู้จัดการทั่วไป ภาคพื้นอินโดจีน กล่าวว่า จากการวิจัยของฟอเรสเตอร์ คอนซัลติ้ง เทคโนโลยี และแรงผลักดันต่างๆ ในด้านเศรษฐกิจช่วยทำให้ลูกค้าสามารถเพิ่มการควบคุมการมีปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจ และองค์กรได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจต้องการที่จะเข้าใจ และมีความสามารถในการให้การดูแลลูกค้าในระบบเศรษฐกิจดิจิตอล ต่างเผชิญการการเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจด้วยดิจิตอล ซึ่งเกี่ยวเนื่องไปถึงการลงทุนในเทคโนโลยี และรูปแบบการทำธุรกิจใหม่ที่จะมุ่งให้ความสนใจไปที่ประสบการณ์ลูกค้า (customer experience) เป็นสำคัญ

 

ทั้งนี้ ไอดีซีได้คาดการณ์ว่าจำนวนองค์กรธุรกิจที่มีแผนที่จะริเริ่มดำเนินการในด้านดิจิตอล ทรานฟอร์เมชันจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าในปี 2663 จากปัจจุบัน 22% เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 50%.

 

เพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจต่างๆ สามารถตอบรับกับเทรนด์การเปลี่ยนแปลง Digital Transformation ได้อย่างสมบูรณ์ เดลล์ ประเทศไทยแบ่งรูปแบบการดำเนินธุรกิจออกเป็น ส่วน โดยในส่วนแรกคือการเดินสายให้ความรู้ กระตุ้นให้องค์กรธุรกิจตระหนัก และตื่นตัวกับเทรนด์ที่กำลังจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปโฉมการดำเนินธุรกิจ เพื่อองค์กรธุรกิจได้เตรียมความพร้อม ในการหาสิ่งที่เป็นยุทธศาสตร์ในการทำธุรกิจของตัวเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึ สำหรับการดำเนินงานในส่วนที่สอง เดลล์ ประเทศไทยพร้อมให้คำปรึกษาในเรื่องการทำ transformation โดยนำโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (IT Infrastructure) เพื่อช่วยให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์

 

บางองค์กรอาจเริ่มต้นไม่ถูก หรือไม่แน่ใจว่าควรเริ่มต้นอย่างไร เรามีทีมทำงานด้านดิจิตอล ทรานส์ฟอร์เมชันที่สามารถให้คำแนะนำ และทำงานร่วมกับลูกค้าเพื่อตอบสนองความต้องการได้อย่างเหมาะสม และดีที่สุด โดยในขั้นเริ่มต้น เราเริ่มให้คำปรึกษา และทำงานร่วมกับลูกค้าแล้วอย่างน้อย รายในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ เฮลธ์แคร์ ค้าปลีก (Retail) ตลอดจนธุรกิจการประมวลผลข้อมูล เป็นต้น

 

จากการทำนายของทั้งไอดีซี การ์ทเนอร์ และฟอเรสเตอร์ จะมีเทรนด์เชิงกลยุทธ์ รูปแบบ และเทคโนโลยี กลุ่ม ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้กับดิจิตอล ทรานส์ฟอร์เมชันในทศวรรษนี้ ซึ่งเทรนด์ และเทคโนโลยีที่กล่าวถึงคือ การวิเคราะห์บิ๊ก ดาต้า(big data analyticsอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (IoT) และปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial Intelligence (AI)

 

นายอภิชาติ อัศวาดิศยางกูร ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจองค์กร เดลล์ อินโดจีน กล่าวว่า ธุรกิจดิจิตอล (Digital Business Revolution) คือคลื่นลูกถัดมาของการพัฒนาทางด้านไอที ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดความซับซ้อน โดย เทคโนโลยีหลักที่จะเข้ามามีบทบาท ได้แก่ คลาวด์ โมบิลิตี้ การวิเคราะห์ (Big Data/Analytic) และการรักษาความปลอดภัย (security)

 

เพื่อช่วยให้องค์กรตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทั้งในรูปแบบของการทำธุรกิจ และของเทคโนโลยีที่จะมีบทบาทในการสร้างประสิทธิภาพ และความได้เปรียบให้กับองค์กร เดลล์ได้ทำวิจัย รวมถึงร่วมมือกับองค์กรวิจัยระดับโลกเพื่อศึกษา “ดัชนีชี้วัดความพร้อมขององค์กรธุรกิจสำหรับอนาคต” ซึ่งรวมถึง ดัชนีการใช้เทคโนโลยีทั่วโลก Global Technology Adoption Index (GTAI) ประจำปี 2015 ซึ่งเดลล์จัดทำเป็นปีที่สองอีกด้วย

 

ทั้งนี้ GTAI ได้ทำการสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจในธุรกิจ และด้านไอที ขององค์กรขนาดกลางทั่วโลก เพื่อทำความเข้าใจถึงการตระหนักรู้ และการวางแผน รวมถึงการนำ เทคโนโลยีหลักมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ได้แก่ เทคโนโลยีคลาวด์ โมบิลิตี้ ซีเคียวริตี้ และบิ๊กดาต้า เป็นสำคัญ ซึ่งผลของการสำรวจชี้ให้เห็นว่าองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีทั้ง อย่างจริงจัง กำลังมีอัตราเติบโตของรายได้สูงกว่าองค์กรที่ไม่ได้ลงทุนในเทคโนโลยีเหล่านี้ถึง 53 เปอร์เซ็นต์

 

ทั้งนี้ การสำรวจของ GTAI 2015 พบความเกี่ยวเนื่องระหว่างเทคโนโลยี และประสิทธิภาพการทำงาน รวมไปถึงเป้าหมายด้านการเติบโต โดยข้อมูลระบุชัดเจนว่าการเพิ่มของประสิทธิภาพ และสมรรถนะในการทำงานที่ได้จากโมบิลิตี้คือสิ่งที่เอื้อประโยชน์มากที่สุดให้กับองค์กร (39 เปอร์เซ็นต์) ขณะที่ประโยชน์สูงสุดที่ได้จากคลาวด์ คือ การช่วยประหยัดต้นทุน (42 เปอร์เซ็นต์) การช่วยให้การดำเนินงานต่างๆ สำเร็จได้ในเวลาอันสั้น (40 เปอร์เซ็นต์) และการทำให้การกระจายทรัพยากรด้านไอทีทำได้ดีขึ้น (38 เปอร์เซ็นต์)

 

ในขณะที่ผลประโยชน์หลักๆ ที่มาจากบิ๊ก ดาต้าที่เกี่ยวเนื่องกับความได้เปรียบทางการแข่งขัน จะครอบคลุมถึงความสามารถในการวางเป้าหมายเพื่อการดำเนินการทางการตลาดที่ดีขึ้น (41 เปอร์เซ็นต์) การใช้ประโยชน์สูงสุดจากการใชจ่ายด้านโฆษณา (37 เปอร์เซ็นต์) การใช้ประโยชน์สูงสุดจากการตลาดผ่านโซเชียล มีเดีย (37% เปอร์เซ็นต์)และในทางเดียวกัน สำหรับการรักษาความปลอดภัย หรือซีเคียวริตี้ ความสามารถในการตอบสนองต่อเงื่อนไขทางการตลาด ถือเป็นผลประโยชน์หลักเลยทีเดียว (77 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรที่มีโปรแกรมการรักษาความปลอดภัยด้านไอที และ 78 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรที่มีการใช้งานโซลูชันด้านซีเคียวริตี้)

 

นายธเนศ อังคศิริสรรพ ผู้จัดการประจำประเทศไทย กล่าวว่า นอกจากนี้ ในยุคของดิจิตอล ทรานส์ฟอเมชัน อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง หรือ IoT ถือเป็นหนึ่งในเทรนด์ และเทคโนโลยีสำคัญที่จะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับรูปแบบการทำธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการนำ IoT เข้ามาใช้ในการทำงานร่วมกับดีไวซ์ต่างๆ เพื่อให้รูปแบบการทำงาน หรือการใช้เทคโนโลยีโมบิลิตี้ขององค์กร (Enterprise Mobility)มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

จากบทความของไอดีซี ในหัวข้อ IoT and Enterprise Mobility A Bright Future อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งส่งผลกระทบที่ลึกซึ้งต่อรูปแบบที่องค์กรธุรกิจจะใช้ประโยชน์จากการอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมเข้าหากันในการเปลี่ยนรูปแบบของธุรกิจ โดย IoT จะมีบทบาทในการเข้ามาทำให้การทำงานทันสมัยมากยิ่งขึ้นด้วยการผสานอุปกรณ์โมบาย คอมพิวเตอร์สำหรับสวมใส่ตลอดจนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพของคนทำงานในการที่จะได้รับข้อมูล และทำงานประสานกันได้มากขึ้น องค์กรธุรกิจจะพึ่งพาอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อ รวมถึงระบบการวิเคราะห์ (Big Data/Analytic) ในการที่จะเพิ่มขีดความสามารถสูงสุดให้กับกระบวนการในการทำงาน ไปจนถึงการตัดสินใจที่เกี่ยวเนื่องกับการตลาด และกลยุทธ์การบริหารจัดการมากขึ้น

 

และเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทอย่างชัดเจนที่จะทำให้การทำงานระหว่าง IoT และโมบิลิตี้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง คือบิ๊ก ดาต้า ในการทำงานของ IoT สิ่งต่างๆ ที่ต้องทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเซ็นเซอร์โมบาย ดีไวซ์ รวมทั้งโมบาย แอพพลิเคชัน จะผลิตข้อมูลเป็นจำนวนมหาศาลออกมาในแต่ละวัน เพื่อที่จะสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากข้อมูลเหล่านี้ องค์กรจำเป็นต้องมีดาต้า สตอเรจขนาดใหญ่ ที่มีความสามารถในการประวล และวิเคราะห์ เพื่อที่จะเปลี่ยนข้อมูลดิบของโมบาย IoT ให้เป็นข้อมูลในทางปฏิบัติเชิงลึกสำหรับองค์กร ซึ่งการทำงานร่วมกันของ IoT โมบิลิตี้ และบิ๊ก ดาต้านี้ จะช่วยให้องค์กรได้รับผลประโยชน์ในเชิงกลยุทธ์เพื่อประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทำงาน รวมทั้งสร้างแหล่งผลิตรายได้ใหม่ให้กับองค์กร” นายธเนศ กล่าว

 







ความคิดเห็น