ไอพีพีเอส มองตลาดเงินออนไลน์เป็นเทรนด์ครั้งสำคัญของโลก

ดร.กนกวรรณ  ว่องวัฒนะสิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอพี เพย์เมนท์ โซลูชั่น จำกัด หรือ IPPS กล่าวว่า ในปีหน้า (2559) กระแสธุรกิจตลาดอีคอมเมิร์ซของไทย จะเข้าสู่ภาวะตลาดที่สมบูรณ์แบบ หลังจากเมื่อปี 2557 ตลาดอีคอมเมิร์ซ มีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1.5 แสนล้านบาทโดยการทำธุรกิจผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น โซเชียล มีเดีย เว็บไซต์ออนไลน์ และมาร์เก็ตเพลส อยู่ประมาณ 500,000 ราย และมีคนไทยซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ถึง14.87 ล้านคน และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึง 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปีเป็นอย่างต่ำ    ดังนั้นเชื่อมั่นว่าในปี 2558 มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซ  ในส่วนของการซื้อขายตรงไปยังผู้บริโภคจะมีสูงถึง ล้านล้านบาทหรือมากกว่านั้นและตลาดโมบาย คอมเมิร์ซ ก็น่าจะโตแบบก้าวกระโดด ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของแบงก์ชาติเอง ที่ต้องการให้มีรูปแบบการทำธุรกรรมแบบเงินอิเล็กทรอนิกส์หรืออี-มันนี่ (e-money)  ให้มากขึ้น   เพื่อช่วยลดการผลิตเงิน นอกจากนี้ก็ยังเป็นเทรนด์สำคัญของโลก  ด้วยนวัตกรรมการทำธุรกิจและการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป การทำธุรกรรมหลาย ๆ อย่าง จะอยู่บนออนไลน์ หรือโมบายมากขึ้น ดังนั้นการจ่ายเงินใช้เงิน ก็เปลี่ยนไป จะให้ซื้อของออนไลน์ แต่จ่ายเงินออฟไลน์ ก็ไม่ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซหรือเอ็ม คอมเมิร์ซ เต็มรูปแบบและไม่สะดวกอีกด้วย

            ธุรกิจกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ และการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ ไม่ว่าจะผ่านคอมพิวเตอร์หรือผ่านอุปกรณ์มือถือ มีการเติบโตมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่มีตัวเลขยืนยันเป็นที่แน่นอน แต่ก็สามารถเห็นได้ว่ามีผู้ให้บริการการชำระเงินออนไลน์ หรือผ่านโทรศัพท์มือถือหลายราย ทั้งรายใหม่ที่เกิดในประเทศไทยเองหรือจากต่างประเทศได้เข้ามาเตรียมให้บริการรับชำระค่าสินค้าออนไลน์ในไทยแล้วโดยการเติบโตของธุรกิจออนไลน์ทั้งหลาย ทั้งผ่านทางมือถือหรือหน้าเว็บไซต์(e-commerce คอมเมิร์ซ  และ M-commerceหรือการขยายตัวของตลาดเกมออนไลน์และโมบายเกม รวมทั้งรูปแบบการทำธุรกรรมทางการเงินที่เปลี่ยนไป  ล้วนส่งผลและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาพรวมของธุรกิจนี้มีแรงผลักให้เติบโตมากขึ้น 

ทั้งนื้ในประเทศแถบเอเชีย ก็มีแนวโน้มในลักษณะเดียวกันหรือหลาย ๆ ประเทศที่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ยิ่งมีจำนวนผู้ใช้บริการสูงมาก เช่น สิงคโปร์ (ที่มีทั้งโครงสร้างพื้นฐานและนโยบายและกฎหมายรองรับที่สิงคโปร์ เนื่องจากจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตและผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือสูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์  และเช่นเดียวกับจำนวนผู้ที่เป็นเจ้าของมือถือ (mobile penetration)  บวกกับกฎหมายรองรับการค้าบนอี-คอมเมิร์ซ และเอ็ม-คอมเมิร์ซ มีครบ ทำให้จำนวนของผู้ที่ใช้จ่ายผ่านออนไลน์และออนโมบายจึงมีสูงมาก ส่วนประเทศเกาหลีใต้  ญี่ปุ่นและจีนนั้น ก็มีตลาดอีคอมเมิร์ซที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะจีนที่มีAliPay ที่เป็นวงการยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซ ระดับประเทศหรือของโลกก็ว่าได้  

ดร.กนกวรรณ  กล่าวต่อว่าสำหรับรูปแบบบริการของ IPPS จะเน้นการให้บริการแบบ Anywhere, Any device โดยในต้นปีหน้า จะเริ่มเปิดตัวการให้บริการ PayforUภายใต้ชื่อ PayforU Mobile Wallet   เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะมี PayforU ที่เป็นกระเป๋าเงินอีเล็กทรอนิกส์แล้ว จะยังมี PayforU Payment Gateway  ที่ช่วยให้ชำระเงินผ่านบัตรเครดิตได้สะดวกและปลอดภัยขึ้น และยิ่งเพิ่มความสะดวกด้วยการใช้ระบบ single ID และ PayforU secure payment  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีและมาตรฐานของระบบที่ให้ความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น ในส่วนของพันธมิตรทางธุรกิจในปัจจุบัน เราเป็นพันธมิตรกับทุก ๆ บริษัท ทั้งในส่วนของค่ายโทรศัพท์มือถือทั้งสามค่าย ก็ใช้กระเป๋าเงินผ่าน  Pay forU ไปซื้อ topup  มือถือ หรือชำระบิลค่าน้ำค่าไฟจากบริการต่าง ๆ หรือไปรษณีย์ไทย เติมเงินเข้า Pay forU และขายบัตรเงินสด Pay4Cash หรือจะเป็นกลุ่มดูหนังออนไลน์ เกมออนไลน์และโมบายชั้นนำ  รวมถึงกลุ่มธุรกิจขายตรงก็มีพันธมิตรที่เป็นลูกค้าที่ใช้บริการเราอยู่ในลักษณะ Co- Branding นอกจากนี้ก็ยังมีผู้ให้บริการ IP TV  และพันธมิตรทางด้านธุรกิจค้าปลีก ค้าส่งหรือกลุ่มธุรกิจธนาคาร ก็เป็ลูกค้าของเราผ่านทางการเติมเงินเข้ากระเป๋าในช่องทาง ATM และเคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกสาขาทั่วประเทศ  ทั้งนี้ IPPS ได้ตั้งเป้าหมายแบบก้าวกระโดด โดยเริ่มจากในปีนี้ คือการปรับสร้าง เพิ่มฟังก์ชั่นและพัฒนระบบและการบริหารลูกค้า และการแข่งขันกับตัวเอง ในเรื่องของการสร้างฐานลูกค้า ทำให้ในปีนี้จะมีลูกค้ามากถึง   1  ล้านราย และในปีหน้าคาดหมายว่าเติบโตมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดลูกค้า 2  ล้านราย และมียอดการใช้ผ่านบริการกระเป๋าเงินอิเล็คทรอนิกส์อย่างน้อย 100,000 – 200,000 ครั้งต่อวัน นอกจากนี้ในปีหน้า เราจะมีพันธมิตรทางธุรกิจเพิ่มในส่วนของกลุ่มเทเลคอมและรุกตลาดอีเคอมเมิร์ซมากขึ้น โดยเป็นทั้งผู้ให้บริการ Payment Gateway  และเป็นผู้จัดจำหน่าย คือ จะมีทั้งอีคอมเมิร์ซ และเอ็ม คอมเมิร์ซ พอร์ทัล ของตัวเราเองเพื่อให้บริการได้ครบวงจรยิ่งขึ้น 

 

ทั้งนี้หัวใจของการให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ คือความสะดวก และช่องทางในการนำไปใช้โอนและถอนได้  โดยไม่ต้องผ่านธนาคารและการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เกมออนไลน์ ก็เป็นปัจจัยหลักในการเติบโตของตลาดกระเป๋าเงินออนไลน์ สำหรับ IP Payment ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ PayforU  จะมีฟังก์ชั่นการใช้งาน PayforU ที่ใช้งานได้ง่ายและคล่องตัวซึ่งในด้านผู้ให้บริการ  เรามีศักยภาพในบริการทุกประเภทครอบคลุมในเรื่องของการให้บริการคลาวด์และระบบโซลูชั่นอินฟราสตัคเจอร์ต่าง ๆ รวมทั้งมีทีมพัฒนาระบบที่ทำงานอย่างต่อเนื่องและให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง 

                      ////////////////////////

เกี่ยวกับบริษัทไอพี เพย์เมนท์ โซลูชั่น จำกัด หรือ IPPS   

สำหรับบริษัท ไอพี เพย์เมนท์ โซลูชั่น  จำกัด หรือ IPPS   เป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามใบอนุญาตเลขที่ ค(6) โดยหลังจากที่ได้รับอนุญาตมาตั้งแต่ปี 2554  ได้เตรียมความพร้อมในการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มระบบ  เริ่มตั้งแต่หน้าร้านไปจนถึงระบบการชำระเงิน   ไม่ว่าจะเป็นในรื่องของการตลาด และเรื่องของการสนับสนุนจากหน่วยงารัฐบาล  เช่น มีการกำกับดูแลในเรื่องนี้อย่างจริงจัง  หลังจากที่การเปิดตัวอย่างไม่เป็นทางการมากกว่า 1 ปี  ในปลายปีนี้ไอพีพีเอส พร้อมแล้วที่จะเริ่มรุกตลาดอย่างจริงจัง  โดยนอกเหนือไปจากบริการPayforU ซี่งเป็นระบบกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้เริ่มการให้บริการไปแล้ว และในปีนี้มีโครงการจะเพิ่มฐานลูกค้าและช่องทางมากขึ้นแล้ว  ยังมีบริการใหม่ที่กำลังจะออกสู่ตลาด ภายใต้ชื่อบริการบัตรเงินสด Pay4Cash อีกด้วย




ความคิดเห็น