แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของไอทีในปี 2015 และอนาคต

โดย Dirk-Peter van Leeuwen, ผู้อำนวยการอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปของเรดแฮทประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก และประเทศญี่ปุ่น

 

ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานมีให้เห็นทั้งในระบบเศรษฐกิจและแนวทางการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน  องค์กรต่างๆจะต้องคิดทบทวนใหม่ในเรื่องหลักการขั้นพื้นฐานของวิธีการทำธุรกิจของตน  และต้องมุ่งเดินไปข้างหน้าให้รวดเร็วและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ มากกว่าการทำตามแนวทางเดิมๆที่เชื่อว่าองค์กรยิ่งใหญ่โตยิ่งดี

ธุรกิจต่างๆ ได้พัฒนาจากระบบที่สร้างมาเพื่อเน้นประสิทธิภาพมาเป็นสร้างมาเพื่อเน้นการสร้างนวัตกรรม ด้วยการใช้เครื่องมือที่มีคุณค่ามากที่สุดคือข้อมูลข่าวสารและการที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างเช่นสมาร์ทดีไวซ์ (smart devices) บริษัทใด ๆ ที่มีนวัตกรรมและพัฒนาได้ทันเทคโนโลยีนี้จะเติบโตขึ้นและกลายเป็นหนึ่งในองค์กรขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมของตน อย่างเช่น Uber เป็นบริษัทแท็กซี่ไม่ได้เป็นเจ้าของรถแท็กซี่เลยสักคัน Facebookเป็นสื่อที่ไม่ได้เป็นผู้สร้างเนื้อหาของตนเองเลย และ Airbnb เป็นผู้จัดหาที่พักแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ใด ๆ  สิ่งที่ทั้ง บริษัทนี้ทำเหมือน ๆ กันคือการทำให้ผู้บริโภคมีอำนาจมากขึ้นโดยสามารถใช้แอพพิเคชั่น (app) ผ่านสมาร์ทดีไวซ์เลือกสิ่งที่ตนเองต้องการได้

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าธุรกิจในปัจจุบันอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างสูงให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการแอพและประสบการณ์ใหม่ ๆ  ในการใช้แอพเหล่านี้  องค์กรธุรกิจไม่ต้องสนใจเรื่องขนาดอีกต่อไป เพราะไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงแค่สินทรัพย์ที่มีตัวตนของตนเองเท่านั้น องค์กรธุรกิจจะต้องลงทุนเปลี่ยนแปลงตัวเองใหม่อย่างสม่ำเสมอให้สามารถล้ำหน้าตลาดได้อยู่ตลอดต่อไป

ในงาน Red Hat Summit 2015 มีการสัมมนาในหัวข้อสำคัญมาก ๆ หลายหัวข้อ โดย Dirk-Peter van Leeuwen ซึ่งเป็นผู้อำนวยการอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปของเรดแฮทในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก และประเทศญี่ปุ่น ได้สรุปออกมาเป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่เป็นกุญแจสำคัญ ซึ่งจะมีบทบาทอย่างสูงในอีก 2-3 ปีข้างหน้าดังต่อไปนี้

 

การทำให้เป็นดิจิตัล (Digitalization)

ในทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย อย่างเช่นจาก grid กลายเป็น  cloud จาก service-oriented architecture กลายเป็น microservices จาก machine virtualization กลายเป็น container technology อย่างไรก็ตามยังมีการเปลี่ยนแปลงอีกประการเกิดขึ้นรวดเร็วมาก นั่นคือเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันและทรัพย์สินทางปัญญาต่าง ๆ กำลังกลายเป็นซอฟแวร์มากขึ้นเรื่อย ๆ  ซึ่งนักวิเคราะห์เรียกแนวโน้มนี้รวม ๆ กันว่า การทำให้เป็นดิจิตัล

การทำให้เป็นดิจิตัลถูกเร่งมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยการลู่เข้าหากันและการเชื่อมโยงกันของแนวโน้มทางสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี การทำทุกอย่างให้เป็นดิจิตัล จากโมบายล์โซลูชั่นทั้งในเรื่องความเป็นส่วนตัว (Privacy) และความปลอดภัย (security) จะเป็นตัวการที่ทำให้องค์กรที่เดินมาในแนวทางนี้สามารถสร้างความแตกต่างและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเหนือองค์กรอื่นได้ องค์กรจะต้องเต็มใจที่จะปรับตัวให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับทางเทคโนโลยี ซึ่งทำให้สามารถรวมทรัพย์สินทางปัญญาของตนผนวกเข้ากับ web APIs เพื่อที่ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่ประสพความสำเร็จในตลาด

การทำระบบไอทีให้เป็นคอนเทนเนอร์ (Containerized IT)

การทำให้เป็นคอนเทนเนอร์ (Containerization) เป็นทางเลือกที่ดีกว่าการใช้ machine  virtualization แบบเต็มตัว โดยเป็นการนำแอฟพิเคชั่นแต่ละอันมาวางลงบนคอนเทนเนอร์ซึ่งมีระบบปฏิบัติการณ์เป็นของตัวเอง ในสภาพแวดล้อมแบบองค์กรขนาดใหญ่ในปัจจุบันได้มีการนำแนวคิดคอนเทนเนอ์มาปรับใช้ในการเปลี่ยนแปลงระบบไอทีและได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากมองเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นตามมาหลายประการ จาก 67 % ของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจเลือกระบบไอทีและผู้เชี่ยวชาญทางไอทีทั่วโลกในการวิจัยที่เรดแฮทให้การสนับสนุนตอบว่า มีแผนการที่จะสร้างแอฟพิเคชั่นที่ทำงานบนคอนเทนเนอร์ (container-based applications) ในอีกสองปีข้างหน้า(1)  

องค์กรต้องการการออกแบบแพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อที่ทำให้แอฟพิเคชั่นและบริการต่าง ๆที่ทำงานอยู่บนคอนเทนเนอร์สามารถทำงาน(run)ประสานกันได้(orchestrate) และขยายขนาดได้ (scale) ทั้งยังต้องการกระบวนการในการสร้างและนำมาใช้งานที่ง่ายขึ้นซึ่งจะช่วยให้องค์กรยังสามารถจัดการแอฟพิเคชั่นทั้งแบบเก่าและที่อยู่บนคลาวด์ได้อย่างสอดคล้องกันอีกด้วย

อีกปีอันหน้าตื่นเต้นสำหรับ PaaS

Platform-as-a-Service (PaaS) ได้รับการสนับสนุนอย่างมากในสองสามปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามในปี 2015 กำลังจะเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ให้ PaaS  ด้วยการที่ Docker ทำให้แนวความคิดเรื่องการทำให้เป็นคอนเทนเนอร์และสถาปัตยกรรมแบบวางรากฐานอยู่บนคอนเทนเนอร์ได้รับความนิยมอย่างสูง องค์กรต่าง ๆ กำลังเคลื่อนที่จากการถามถึงคอนเทนเนอร์ในฐานะเป็นแนวทางที่จะไป  ไปสู่การถามว่าจะทำมันได้อย่างไรแทน ในปีที่แล้วเราได้เห็นจำนวนองค์กรที่เลือก PaaS มากกว่า Infrastructure-as-a-Service (IaaS) เป็นเป้าหมายแรกในการทำกลยุทธสร้างคลาวด์แบบ private/hybrid ของตน

องค์กรต่าง ๆ กำลังต้องการแพลตฟอร์มที่ยืดหยุ่นสำหรับทำ microservices architecture ซึ่ง ผู้ให้บริการ PaaS และคลาวด์ทั้งหลายเริ่มพร้อมที่จะให้บริการนี้ได้ โดยตอนนี้มีคอนเทนเนอร์แบบโอเพ่นซอร์สและ orchestration practices แล้วซึ่งจะช่วยเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ในเรื่องการพัฒนาและขับเคลื่อนแพลตฟอร์มไปในทิศทางที่ลูกค้าต้องการ นั้นคือแนวโน้มเรื่องอินเตอร์เน็ตของทุก ๆ สิ่ง (Internet of Things-IoT) และจะสร้างแรงกดดันอย่างสูงให้ผู้ให้บริการ PaaS จัดหาบริการที่ง่ายต่อการจัดการ มีการทำงานต่อเนื่องสูง และสามารถขยายได้อย่างไม่มีขีดจำกัด

 

เร่งเครื่องเข้าสู่โมบิลิตี้

องค์กรต่าง ๆ กำลังพยายามตามให้ทันแนวโน้มของการใช้ไอทีในทุก ๆ ที่ เสมือนเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค (consumerization of IT) ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและการเพิ่มจำนวนอย่างมหาศาลของอุปกรณ์พกพา  โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาแอฟพิเคชั่นที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานและเพิ่มความพึ่งพอใจให้แก่ลูกค้า จากการศึกษาพบว่า 82 % ขององค์กรธุรกิจล้วนมีแผนการที่จะลงทุนในโซลูชั่นที่ช่วยจัดการอุปกรณ์พกพาและดำเนินนโยบายธุรกิจในทิศทางนี้โดยเริ่มจากปี 2015 เป็นต้นไป(2)

โมบิลิตี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สุดในหลาย ๆ ธุรกิจทั้งนี้เพื่อที่จะผลักดันให้เกิดนวัตกรรม ทำกระบวนการทำงานของตนให้ต่อเนื่องกันโดยประสิทธิภาพสูงขึ้น  และพัฒนารูปแบบการทำธุรกิจแบบใหม่ ๆ  องค์กรมองหาโซลูชั่นที่จะช่วยให้สามารถทำการพัฒนาได้อย่างรวดเร็วและทำให้แอฟพิเคชั่นต่าง ๆ ที่มีประสานงานกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อช่วยให้องค์กรมุ่งไปสู่กลยุทธโมบายเป็นอันดับแรก (mobile-first strategy) ได้สำเร็จ

กระตุ้นองค์กรต่าง ๆ ให้เดินหน้า

ปีนี้ Red Hat Summit จัดขึ้นในวันที่ 23-26 เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา  ได้นำผู้บริหารของเรดแฮท ลูกค้าและคู่ค้าต่าง ๆ มาสัมมนาร่วมกัน เพื่อกระตุ้นให้เห็นแนวโน้มทางเทคโนโลยีที่กล่าวมาแล้วข้างต้นและนวัตกรรมใหม่ ๆ ของเรดแฮท ในงานสัมมนา Jim Whitehurst ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะบริหารของเรดแฮทได้กล่าวเน้นว่า คุณค่าของเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สไม่ใช่แค่เพียงเรื่องของ licensed code เท่านั้นแต่เป็นเรื่องของการพัฒนาที่จะต้องร่วมมือกัน (collaboration) และทำกันเป็นประชาคมต่าง ๆ (communities)

Red Hat Summit เป็นงานที่จัดขึ้นทุกปี เป็นที่ซึ่งเรดแฮทและผู้นำแห่งเทคโนโลยีในอนาคตทั้งหลายมาเปิดเผยแนวคิดเกี่ยวกับอนาคตของเทคโนโลยีและหาแนวทางร่วมกันในการทำให้ซอฟแวร์แบบโอเพ่นซอร์สเปลี่ยนแปลงทุก ๆ สิ่ง จาก คลาวด์และไลนุกส์คอนเทนเนอร์ไปสู่ mobile , big data , the Internet of Things และเหนือกว่านั้น เรื่องที่เป็นกุญแจหลักสำคัญของปีนี้คือ Docker container technology โดยเรดแฮทได้ประกาศเปิดตัว Atomic Enterprise Platform และ Openshift Enterprise 3 platform ของตน Atomic Enterprise จะช่วยในการสนับสนุนช่วยเหลือแก่ hosting platform ในการ deployment และ  orchestration การทำ Docker containers ขณะที่ Openshift เป็น PaaS ที่มุ่งให้บริการผู้พัฒนาในการสร้าง จัดการ และ นำ containers มาใช้

ความคิดเห็น